Page 1394 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1394
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่
3. ชื่อการทดลอง ผลของการตัดแต่งกิ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตห้อม
Effect of Pruning on Growth and Yield of Strobilanthes cusia
(Nees)
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน วิภาดา แสงสร้อย ประนอม ใจอ้าย 1/
มณทิรา ภูติวรนาถ สุทธินี เจริญคิด 1/
1/
รณรงค์ คนชม 1/
5. บทคัดย่อ
ศึกษาผลของการตัดแต่งกิ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตห้อม ดำเนินการในปี
2557 - 2558 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหา
วิธีการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสมที่ทำให้ห้อมมีผลผลิตสูง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete
Block (RCB) ประกอบด้วย 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 วิธีเปิดกลางทรงพุ่มที่ระดับความสูง
15 เซนติเมตร กรรมวิธีที่ 2 เปิดกลางพุ่มที่ระดับความสูง 30 เซนติเมตร กรรมวิธีที่ 3 วิธีตัดปลายยอด
ทั่วทรงพุ่มที่ระดับความสูง 50 เซนติเมตร และตัดปลายยอด 3 คู่ใบ กรรมวิธีที่ 4 วิธีเปิดกลางพุ่มที่ระดับ
ความสูง 30 เซนติเมตร และตัดปลายยอดทั่วทรงพุ่ม กรรมวิธีที่ 5 ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง (กรรมวิธีเปรียบเทียบ)
พบว่า ปริมาณผลผลิตต่อไร่หลังการตัดแต่งกิ่ง ที่อายุ 12 เดือน วิธีเปิดกลางทรงพุ่มที่ระดับความสูง
15 เซนติเมตร วิธีเปิดกลางทรงพุ่มที่ระดับความสูง 30 เซนติเมตร วิธีตัดปลายยอดทั่วทรงพุ่มที่ระดับ
ความสูง 50 เซนติเมตร และตัดปลายยอด 3 คู่ใบ ให้ผลผลิตสดเฉลี่ย 1,773.18 - 2,034.49 กิโลกรัมต่อไร่
ส่วนด้านผลผลิตเนื้อห้อม การตัดแต่งด้วยวิธีเปิดกลางทรงพุ่มที่ระดับความสูง 15 เซนติเมตร วิธีตัดปลายยอด
ทั่วทรงพุ่มที่ระดับความสูง 50 เซนติเมตร และตัดปลายยอด 3 คู่ใบ วิธีเปิดกลางพุ่มที่ระดับความสูง
30 เซนติเมตร และตัดปลายยอดทั่วทรงพุ่ม และวิธีการไม่ตัดแต่งกิ่ง มีผลผลิตเนื้อห้อมเฉลี่ย 220.25 - 251.98
กิโลกรัมต่อไร่ ด้านปริมาณสารอินดิโก้ การตัดแต่งกิ่งด้วยวิธีเปิดกลางทรงพุ่มที่ระดับความสูง 15 เซนติเมตร
วิธีเปิดกลางทรงพุ่มที่ระดับความสูง 30 เซนติเมตร เปิดกลางพุ่มที่ระดับความสูง 30 เซนติเมตร และตัด
ปลายยอดทั่วทรงพุ่ม และวิธีการไม่ตัดแต่งกิ่ง มีปริมาณสารอินดิโก้เฉลี่ย 1.99 - 2.40 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น
หากเกษตรกรผู้ปลูกต้องการให้ห้อมผลผลิตสูง การไม่ตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีที่ปฏิบัติได้ง่ายที่สุด ประหยัดทั้ง
เวลาและแรงงาน ทำให้ได้ปริมาณเนื้อห้อมและสารอินดิโก้สูง
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่
1327