Page 1404 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1404
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพในเขต
ภาคเหนือตอนล่าง
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตมะปรางอย่างมีคุณภาพ
3. ชื่อการทดลอง การคัดเลือกพันธุ์มะปรางและมะยงชิดโดยชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์
ด้วยการฉายรังสี
Selection of Sweet Maprang and Mayongchit Clones by
Induce Mutation by Irradiation
4. คณะผู้ดำเนินงาน ณรงค์ แดงเปี่ยม ปัญญา ธยามานนท์ 1/
1/
ทวีป หลวงแก้ว อนุรักษ์ สุขขารมย์ 1/
1/
1/
เสงี่ยม แจ่มจำรูญ นรินทร์ พูลเพิ่ม 2/
ทรงพล สมศรี สมชาย บุญประดับ 3/
3/
5. บทคัดย่อ
การคัดเลือกพันธุ์มะปรางและมะยงชิดโดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยการฉายรังสี
ได้นำไปทำการฉายรังสี 2 ครั้ง ครั้งแรก เดือนกันยายน 2555 3 ระดับรังสี คือ 10.54 Krad, 14.81 Krad
และ 19.64 Krad ทั้งมะปราง และมะยงชิดระดับรังสีละ 20 ต้น เป็นมะปรางหวานพันธุ์สุวรรณบาตร 60 ต้น
มะยงชิดท่าอิฐ 60 ต้น นำมาปลูกลงแปลงทดลอง 28 พฤศจิกายน 2555 ได้ 1 ปี ทุกระดับรังสี
ต้นพืชมะปรางทั้ง 2 สายพันธุ์ มีการเจริญเติบโตอย่างช้าๆ กิ่งยอดแห้งลงและตายไปในที่สุด จึงได้เตรียมพันธุ์
ทั้ง 2 สายพันธุ์ใหม่ พันธุ์ละ 60 ต้น เพื่อนำไปฉายรังสีใหม่ ครั้งที่ 2 วันที่ 4 ธันวาคม 2556 โดยการใช้
ระดับรังสี 3 ระดับ คือ 2.3 Krad, 3.6 Krad และ 4.1 Krad ลดระดับรังสีลงจากครั้งที่ 1 ปลูกลงแปลง
24 กรกฎาคม 2557 ในปี 2558 มีจำนวนต้นเหลืออยู่ เป็นพันธุ์สุวรรณบาตร ที่ระดับรังสี 2.3 Krad เหลือ
13 ต้น รังสี 3.6 Krad เหลือ 10 ต้น รังสี 4.1 Krad เหลือ 15 ต้น พันธุ์ชิดท่าอิฐ รังสี 2.3 Krad เหลือ
10 ต้น รังสี 3.6 Krad เหลือ 6 ต้น รังสี 4.1 Krad เหลือ 13 ต้น การเจริญเติบโตแตกใบอ่อน ขนาดใบ
ไม่ใหญ่เล็กเปรียบเทียบกับที่ไม่ฉายรังสี
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
การคัดเลือกพันธุ์มะปรางและมะยงชิดโดยชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยการฉายรังสี ยังไม่เสร็จ
สมบูรณ์ ต้องพัฒนาต่อไป
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
2/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
3/ สำนักผู้เชี่ยวชาญ
1337