Page 1479 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1479
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม
ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
2. โครงการวิจัย การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกและพืชผักเศรษฐกิจ
ที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาการระบาดของศัตรูพริกภายใต้ความแปรปรวนของสภาวะ
ภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดตรัง
Study on Pest Outbreaks in Capsicum frutescens Linn. under
Climatic Variability in Trang Province
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน กลอยใจ คงเจี้ยง สุนันท์ ถีราวุฒิ 2/
อภิญญา สุราวุธ 3/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาการระบาดของศัตรูพริกภายใต้ความแปรปรวนของสภาวะภูมิอากาศในพื้นที่
จังหวัดตรัง เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพริกภายใต้ความแปรปรวนของสภาวะภูมิอากาศใน
พื้นที่จังหวัดตรัง ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2558 ศึกษาการระบาดของศัตรู
พริกขี้หนู (พริกขี้หนูพันธุ์พริกชี) ในแต่ละช่วงอายุ ตั้งแต่เพาะกล้า หลังย้ายกล้าถึงออกดอก ออกดอก
จนถึงเก็บเกี่ยว และปลายฤดูเก็บเกี่ยว ในพื้นที่อำเภอหาดสำราญ และ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
พบว่า การระบาดของศัตรูพริกในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของพืชต่างกัน ระดับความรุนแรงในการ
ระบาดของศัตรูพริกต่างกัน และในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวพบศัตรูพืชมากที่สุด โดยพบว่าในพื้นที่
อำเภอหาดสำราญ มีจำนวนชนิดของศัตรู และความรุนแรงในการระบาดของศัตรูพริกมากกว่าในพื้นที่
อำเภอปะเหลียน โดยพบการระบาดของเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ไรขาว หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย
แมลงหวี่ขาว เพลี้ยหอย โรคเหี่ยวเหลือง (Fusarium sp.) โรคเหี่ยวเขียว (Ralstonia sp.) โรครากเน่าและ
โคนเน่า (Sclerotium sp.) อาการใบด่างจากเชื้อไวรัสยอดเน่า ใบจุดตากบ และโรคแอนแทรคโนส
(Colletotrichum sp.) ในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวจะพบปัญหาการระบาดของโรคแอนแทรคโนสรุนแรงใน
ทุกพื้นที่ นอกจากนี้ในพื้นที่อำเภอหาดสำราญ พบการทำลายร่วมกันระหว่างเชื้อ Fusarium sp. และ
Sclerotium sp. ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การตายของพริกสูง การศึกษาช่วงเวลาการระบาดของแมลงวันผลไม้
(Bactrocera sp.) และเพลี้ยไฟ พบว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม พบการระบาดของแมลงวันผลไม้
มากที่สุด และในช่วงเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ พบการระบาดของเพลี้ยไฟมากที่สุด อย่างไรก็ตาม
สภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ก็เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในการระบาดของศัตรูพืช
ระยะการเจริญเติบโตของพืชก็เป็นตัวกระตุ้นให้ศัตรูพืชแต่ละชนิดเข้าทำลาย ระยะปลูก สภาพพื้นที่ปลูก
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตรัง
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา
3/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8
1412