Page 1503 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1503

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์
                       2. โครงการวิจัย             การศึกษาระบบการปลูกพืชร่วมเพื่อจัดการระบบสมดุลในห่วงโซ่

                                                   อาหารในระบบเกษตรอินทรีย์

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษารูปแบบการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในระบบ
                                                   การผลิตกะเพรา โหระพา แมงลักอินทรีย์ภาคเหนือตอนล่าง

                                                   The Study of Organic Integrated Pest Control Model for Basil,

                                                   Sweet Basil, Lemon Basil in Lower Northern
                                                              1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ดรุณี  สมณะ                  เบญจวรรณ  สุรพล 1/
                                                   เสงี่ยม  แจ่มจำรูญ 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              การศึกษารูปแบบการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในระบบการผลิตกะเพรา โหระพา

                       แมงลักอินทรีย์ ภาคเหนือตอนล่าง ได้ดำเนินการทดลองตั้งแต่ปี 2554 - 2558 ในแปลงทดลองของ
                       ศูนย์วิจัยและพัฒนากรเกษตรพิจิตร ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน

                       ในระบบการผลิตกะเพรา โหระพา แมงลักอินทรีย์ 4 กรรมวิธี คือกรรมวิธีที่ 1 ใช้สารสกัดพืช เช่น สะเดา
                       ในแปลงกะเพรา โหระพา แมงลัก ร่วมกับการปลูกกวางตุ้งและดาวกระจายเป็นพืชกับดัก กรรมวิธีที่ 2

                       ใช้ชีวินทรีย์ปฏิปักษ์ศัตรูพืช เช่น ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae, NPV, Bacillus thuringiensis

                       และ Metarhizium anisopliae ในแปลงกะเพรา โหระพา แมงลัก ร่วมกับการปลูกกวางตุ้งและดาวกระจาย
                       เป็นพืชกับดัก กรรมวิธีที่ 3 ใช้สารสกัดพืช และการใช้ชีวินทรีย์ปฏิปักษ์ศัตรูพืชในแปลงกะเพรา โหระพา

                       แมงลัก ร่วมกับการปลูกกวางตุ้งและดาวกระจายเป็นพืชกับดัก กรรมวิธีที่ 4 ปลูกกะเพรา โหระพา

                       แมงลัก โดยไม่ใช้ชีวินทรีย์หรือสารสกัดพืชและไม่ปลูกพืชกับดัก (กรรมวิธีควบคุม) ทำการฉีดพ่น
                       สัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design มี 5 ซ้ำ

                              ผลการทดลอง พบว่า รูปแบบการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในระบบการผลิตกะเพรา

                       โหระพา แมงลักอินทรีย์ในรูปแบบไหนก็ใช้ได้เหมือนกัน ขณะที่พืชแต่ละชนิดมีความชอบของศัตรูพืช
                       เข้าทำลายแตกต่างกัน พืชทุกชนิดมีการเจริญเติบโตดีโดยเฉพาะในระยะ 1 - 2 สัปดาห์แรกหลังจากย้าย

                       ต้นกล้าลงแปลงในทุกกรรมวิธี ซึ่งประชากรของแมลงศัตรูพืชที่ระบาด จะมีปริมาณน้อยในช่วงแรก
                       ของการปลูกพืช และจะมีปริมาณมากขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 4 - 5 สัปดาห์หลังปลูก ต่อจากนั้นปริมาณจะ

                       ลดลงเมื่อพืชใกล้เก็บเกี่ยว จากการสำรวจพบแมลงศัตรูพืช 3 ชนิด คือ เพลี้ยอ่อน หนอนม้วนใบ

                       และเพลี้ยไฟ ซึ่งปลูกกะเพรา โหระพา แมงลัก โดยไม่ใช้ชีวินทรีย์หรือสารสกัดพืชและไม่ปลูกพืชกับดัก
                       (กรรมวิธีควบคุม) พบว่า มีปริมาณความหนาแน่นของประชากรแมลงศัตรูพืชมากที่สุด และใช้สารสกัดพืช

                       และการใช้ชีวินทรีย์ปฏิปักษ์ศัตรูพืชในแปลงกะเพรา โหระพา แมงลัก ร่วมกับการปลูกกวางตุ้งและ


                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร


                                                          1436
   1498   1499   1500   1501   1502   1503   1504   1505   1506   1507   1508