Page 1509 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1509

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์
                       2. โครงการวิจัย             การศึกษาระบบการปลูกพืชร่วมเพื่อจัดการระบบสมดุลในห่วงโซ่

                                                   อาหารในระบบเกษตรอินทรีย์

                       3. ชื่อการทดลอง             อิทธิพลของการจัดการดินและปุ๋ยในการผลิตแก้วมังกรอินทรีย์
                                                   ในจังหวัดนครปฐม

                                                   Effect of Fertilizer and Soil Management on Dragon Fruit

                                                   Organic Farming Production in Nakhon Pathom Province
                                                                  1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ประไพ  ทองระอา               เพทาย  กาญจนเกสร  2/
                                                   ศิริจันทร์  อินทร์น้อย       กัลยกร  โปร่งจันทึก 1/
                                                                     2/
                                                                1/
                                                   สรัตนา  เสนาะ                ภัสชญภณ  หมื่นแจ้ง 1/
                       5. บทคัดย่อ

                              การทดลองอิทธิพลของการจัดการดินและปุ๋ยในการผลิตแก้วมังกรอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม
                       เพื่อหาวิธีการจัดการดินและปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพในการผลิตแก้วมังกรอินทรีย์ในระบบเกษตรอินทรีย์

                       โดยดำเนินการในดินร่วนทรายชุดดินกำแพงแสน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ระหว่างปี
                       2554 - 2558 โดยเริ่มปลูกแก้วมังกรอินทรีย์ ตั้งแต่ปี 2552 วางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 factorial in

                       RCB มี 2 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยที่ 1 ปลูกพืชคลุมดิน มี 2 แบบ คือ 1) ไม่ปลูกพืชคลุมดิน 2) ปลูกพืชคลุมดิน

                       ปัจจัยที่ 2 การใส่ปุ๋ย มี 4 แบบ คือ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยหมักเอกชน 3) ใส่ปุ๋ยหมักเติมอากาศร่วมกับ
                       ต้นถั่วคลุมดิน 4) ใส่ปุ๋ยหมักเติมอากาศร่วมกับใบกระถินป่น ดำเนินการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของ

                       อินทรียวัตถุ ปฏิกิริยาดิน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ เก็บข้อมูลน้ำหนัก

                       ผลผลิตและวิเคราะห์รายได้จากการขายผลผลิตสด ผลการทดลองปรากฏว่ากรรมวิธีปลูกพืชคลุมดิน
                       ไม่ทำให้ปฏิกิริยาดินต่างจากการไม่ปลูกพืชคลุมดิน การใช้ปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศมีผลทำให้ปฏิกิริยา

                       กรด-ด่างของดินสูงกว่าปุ๋ยอินทรีย์เอกชน แต่ปฏิกิริยาของดินในทุกกรรมวิธีมีค่าใกล้เป็นกลาง การเปลี่ยนแปลง

                       อินทรียวัตถุพบว่าการปลูกพืชคลุมดินทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุของดินรอบรากไม่แตกต่างกัน แต่กรรมวิธี
                       การใส่ปุ๋ยทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนกับกรรมวิธีไม่ใส่ปุ๋ย โดยพบว่า

                       การใส่ปุ๋ยหมักเติมอากาศมีศักยภาพในการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินมากกว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เอกชนอย่าง
                       ชัดเจน รวมทั้งฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ตลอดจนผลผลิต

                       และรายได้ของแก้วมังกรก็เพิ่มขึ้นสูงกว่าวิธีการอื่นๆ จึงทำให้ได้วิธีการจัดการดินด้วยการปลูกพืชคลุมดิน

                       ร่วมกับการใส่ปุ๋ยหมักเติมอากาศและกระถินป่นในการผลิตแก้วมังกรในระบบเกษตรอินทรีย์ 1 ชุดเทคโนโลยี
                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                               ได้งานพื้นฐานและประยุกต์สำหรับใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิจัยและพัฒนาคำแนะนำการจัดการ
                       ดินและปุ๋ยในเกษตรอินทรีย์ อย่างไรก็ตามยังขาดข้อมูลอีกหลายมิติ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้

                       ___________________________________________

                       1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม
                                                          1442
   1504   1505   1506   1507   1508   1509   1510   1511   1512   1513   1514