Page 1636 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1636
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการควบคุมศัตรูพืชทางการเกษตรโดยชีววิธี
3. ชื่อการทดลอง การพัฒนารูปแบบชีวผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็นพีวีสำเร็จรูปเพื่อกำจัด
หนอนกระทู้หอม
The Bioproduct Development of Nucleopolyhedrovirus
Formulations for Controlling Beet Armyworm
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี ภัทรพร สรรพนุเคราะห์ 1/
1/
นันทนัช พินศรี อิศเรส เทียนทัด 1/
5. บทคัดย่อ
การพัฒนาชีวผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไวรัสเอ็นพีวี ในรูปผงละลายน้ำ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้
ชีวผลิตภัณฑ์มีความสะดวกในการใช้และเก็บรักษา และยังมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมหนอนกระทู้หอม
โดยทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช นำเชื้อไวรัส
9
เอ็นพีวีหนอนกระทู้หอม ความเข้มข้น 1 x 10 ผลึกโปรตีนต่อมิลลิลิตร ใส่ในหลอดทดลอง นำไปทดสอบ
ความทนทานต่ออุณหภูมิที่ระดับต่างๆ ได้แก่ 30, 40 และ 50 องศาเซลเซียส นาน 24, 48 และ 72 ชั่วโมง
จากนั้นนำเชื้อไวรัสเอ็นพีวี ที่ผ่านการทดลองแล้วทั้งหมดมาทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อด้วยวิธี
Feeding method กับหนอนกระทู้หอมวัย 3 แล้วจึงพัฒนาสูตรผงสำเร็จรูปด้วยสารเพิ่มฤทธิ์ชนิดต่างๆ
ด้วยวิธี Mixture design ศึกษาส่วนผสมหรือปัจจัย 3 ปัจจัย ได้แก่ skim milk, kaolin และ surfactant A
ช่วงการศึกษาปัจจัยประกอบด้วย skim milk ร้อยละ 30 - 40, kaolin ร้อยละ 15 - 30 และ
surfactant A ร้อยละ 30 - 50 เมื่อได้อัตราส่วนที่เหมาะสมแล้ว จึงทำการผลิตด้วยการนำส่วนผสมทั้งหมด
ผสมเข้าด้วยกัน นำไปอบในตู้อบลมร้อน (Hot air oven) อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส
นาน 6 ชั่วโมง แล้วนำไปบดละเอียดเป็นชีวผลิตภัณฑ์รูปผง ทดสอบประสิทธิภาพด้วยวิธี Feeding method
กับหนอนกระทู้หอมวัย 3 จำนวน 30 ตัวต่อกรรมวิธี ผลการศึกษาพบว่า เชื้อไวรัสเอ็นพีวีหนอนกระทู้หอม
สามารถทนทานต่ออุณหภูมิได้สูงสุดถึง 50 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง โดยมีเปอร์เซ็นต์การตาย
ของหนอน และเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของเชื้อ 80.95 และ 85.89 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนผสม
ที่เหมาะสมในการผลิตชีวผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปส่วนผสมชีวผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยปริมาณหางนมร้อยละ
35 - 36, ปริมาณ Kaolin ร้อยละ 29 - 30 และปริมาณ Surfactant ร้อยละ 48 - 50 เมื่อนำชีวผลิตภัณฑ์
สำเร็จรูปนี้ไปทดสอบประสิทธิภาพ พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับชีวผลิตภัณฑ์มาตรฐานของ
กรมวิชาการเกษตรไวรัสเอ็นพีวี DOA BIO v1 โดยมีเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนเฉลี่ย 98.0 และ
100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1569