Page 165 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 165
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาอ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออก และตะวันตก
3. ชื่อการทดลอง การเปรียบเทียบมาตรฐานโคลนอ้อย ชุดปี 2551 เขตน้ำฝน : อ้อยปลูก
ตอ 1 ตอ 2
Standrad Yield Trial of Sugarcane Clone Series 2008 under
nd
st
Rainfed Conditions; Plant, 1 Ratoon and 2 Ratoon Crops
4. คณะผู้ดำเนินงาน นัฐภัทร์ คำหล้า กนกทิพย์ เลิศประเสริฐรัตน์ 1/
1/
ประชา ถ้ำทอง รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์ 1/
1/
ปิยะธิดา อินทร์สุข รัชดา ปรัชเจริญวณิชย์ 3/
2/
สมนึก คงเทียน 1/
5. บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการทดลองเพื่อประเมินผลผลิตในขั้นการเปรียบเทียบมาตรฐาน นำอ้อยโคลน
ดีเด่นชุดปี 2551 จำนวน 16 โคลน เพื่อคัดเลือกโคลนที่ให้ผลผลิต และความหวานสูง ไว้ตอได้ดี และ
เหมาะสมในเขตน้ำฝน เปรียบเทียบกับพันธุ์ตรวจสอบ 4 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์ขอนแก่น 3 อู่ทอง 84-10 LK92-11
และ K99-72 วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ จำนวน 3 แปลง ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย พบว่าค่าความ
แปรปรวนไม่เป็นเอกภาพ (heterogeneity) ในสภาพแวดล้อมของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย
และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี จึงไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ร่วมได้ ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย
จากอ้อยปลูก ตอ 1 และตอ 2 เท่ากับ 13.21 ตันต่อไร่ ไม่มีอ้อยโคลนใดให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3
ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 15.96 ตันต่อไร่ แต่มีอ้อย 4 โคลนที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (14.51
ตันต่อไร่) ร้อยละ 2-9 ได้แก่ NSS08-191-20-1 SP5034 SP00-222 และ RT2004-136 ซึ่งให้ผลผลิต
15.43 14.86 14.82 และ 15.76 ตันต่อไร่ ตามลำดับ สำหรับผลผลิตน้ำตาล ไม่มีอ้อยโคลนใดที่ให้ผลผลิต
น้ำตาลเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ซึ่งให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.20 ตันซีซีเอสต่อไร่ มีอ้อยโคลน SP00-6/61
ที่ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.05 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (1.96 ตันซีซีเอสต่อไร่) อย่างไรก็ตาม
อ้อยโคลนต่างๆ ดังกล่าว แม้จะให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ แต่มีลักษณะทางการเกษตรบางลักษณะ
ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ทรงกอแผ่ ทำให้หักล้ม การงอกของรากบริเวณข้อจำนวนมาก เป็นต้น จึงได้คัดเลือก
โคลน NSS08-22-3-13 และ RT2004-085 เข้าประเมินผลผลิตในขั้นเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรต่อไป
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี
3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย
98