Page 1689 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1689

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
                       2. โครงการวิจัย             การศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

                       3. ชื่อการทดลอง             การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในการควบคุม

                                                   ไส้เดือนฝอยสาเหตุโรคเหลืองของพริกไทย
                                                   Efficacy Test of Nematicides for the Control of Root - Knot

                                                   Nematodes the  Causal  agent  of Yellow Disease  of Black

                                                   Pepper
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ธิติยา  สารพัฒน์             ไตรเดช  ข่ายทอง 1/
                                                                 1/
                                                   นุชนารถ  ตั้งจิตสมคิด 2/

                       5. บทคัดย่อ
                              การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในการควบคุมไส้เดือนฝอย

                       สาเหตุโรคเหลืองของพริกไทย ประกอบด้วยการทดสอบประสิทธิภาพของสารฯ ในสภาพเรือนทดลอง
                       ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2557 และในแปลงซึ่งเกิดการระบาดของโรค ระหว่างเดือน

                       ตุลาคม 2557 ถึงกันยายน 2558 โดยทดสอบประสิทธิภาพของสารฯ ในสภาพเรือนทดลอง ได้ทำการ
                       ปลูกเชื้อไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค จำนวน 300 ตัว

                       ในกระถางปลูกพริกไทย วางแผนการทดลองแบบ CRD 4 ซ้ำ 9 กรรมวิธี โดยใช้การคลุกดินด้วยสาร

                       cadusafos 10% GR และ fosthiazate 10% GR อัตราการใช้สารแต่ละชนิด 3, 4, 5 และ 10 กรัมต่อต้น
                       เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมซึ่งไม่ใช้สารเคมี พบว่ากรรมวิธีที่ใส่ cadusafos 10% GR อัตรา

                       10 กรัมต่อต้น ให้ผลดีทั้งในการลดจำนวนไส้เดือนฝอยรากปมในดินและในรากพริกไทย การทดสอบ

                       ประสิทธิภาพของสารฯ ในแปลงซึ่งเกิดการระบาดของโรค ได้เลือกแปลงที่มีความสม่ำเสมอของโรค
                       จากแปลงพริกไทยใน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ 8 กรรมวิธี

                       โดยใช้การคลุกดินด้วย cadusafos 10% GR อัตรา 3, 5, 6, 10 และ 20 กรัมต่อต้น การคลุกดินด้วย

                       fosthiazate 10% GR อัตรา 10 กรัมต่อต้น และการราดดินด้วย abamectin 1.8% EC อัตรา
                       30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรต่อต้น เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม ซึ่งไม่ใช้สารเคมี ใส่สาร 3 ครั้ง แต่ละครั้ง

                       ห่างกันประมาณ 18 วัน พบว่ากรรมวิธีคลุกดินด้วยสาร cadusafos 10% GR อัตรา 20 กรัมต่อต้น
                       ให้ผลดีทั้งในการลดอัตราการขยายพันธุ์ของไส้เดือนฝอยรากปม การลดจำนวนไส้เดือนฝอยรากปมในดิน

                       และรากฝอยของต้นพริกไทยที่สร้างขึ้นใหม่ไม่มีอาการรากปม

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              สามารถนำข้อมูลนี้ใช้ในการจัดการโรคเหลืองของพริกไทยซึ่งมีสาเหตุจากไส้เดือนฝอยรากปมได้




                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
                       2/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
                                                          1622
   1684   1685   1686   1687   1688   1689   1690   1691   1692   1693   1694