Page 1717 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1717

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยการกักกันพืช

                       3. ชื่อการทดลอง             การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของข้าวฟ่างนำเข้า

                                                   จากออสเตรเลีย
                                                   Pest Risk Analysis for the Importation of Sorghum Seed from

                                                   Australia

                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           สุรพล  ยินอัศวพรรณ           ชลธิชา  รักใคร่ 1/
                                                                    1/
                       5. บทคัดย่อ

                              เมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่างเดิมถูกจัดเป็นสิ่งกำกัดตามกฎหมายกักพืช ยังไม่มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง

                       ศัตรูพืชโดยตรง การควบคุมการนำเข้ามีเพียงใบรับรองสุขอนามัยพืชที่ไม่ต้องระบุมาตรการเฉพาะใดๆ
                       จากประเทศต้นทางกำกับมา การปรับปรุงกฎระเบียบควบคุมการนำเข้าเมื่อปี 2550 กำหนดให้ทุกส่วน

                       ของพืชสกุล Sorghum spp. จากทุกแหล่งเป็นสิ่งต้องห้าม การนำเข้าจากทุกแหล่งต้องผ่านการวิเคราะห์
                       ความเสี่ยงศัตรูพืช ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชของเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่างจากประเทศออสเตรเลีย

                       พบว่าศัตรูพืชควบคุมของเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่างของออสเตรเลียที่ไม่มีในประเทศไทยที่มีโอกาสติดเข้ามา
                       กับเมล็ดพันธุ์ สามารถตั้งรกรากแพร่กระจาย และเกิดผลกระทบต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่างในประเทศไทย

                       มี 52 ชนิด เป็นแมลง 21 ชนิด  ไร 1 ชนิด  เชื้อรา 9 ชนิด  แบคทีเรีย 3 ชนิด  ไวรัส 2 ชนิด และ

                       วัชพืช 16 ชนิด มาตรการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชควบคุมของเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่างก่อนส่งออกจากประเทศ
                       ต้นทาง ต้องผ่านเครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์เพื่อกำจัดเมล็ดวัชพืชกักกันที่มีโอกาสติดมา คลุกเมล็ดพันธุ์

                       ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราโพรพิโคนาโซลและเมทาแลกซิล หรือสารอื่นที่เทียบเท่า เพื่อกำจัดเชื้อโรคพืช

                       ที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ และรมด้วยสารฟอสฟีนอัตรา 5 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ระยะเวลา 120 ชั่วโมง
                       ที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชและไรที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              มาตรการสุขอนามัยพืชดังกล่าวข้างต้น จะทำให้สามารถป้องกันศัตรูพืชร้ายแรงของเมล็ดพันธุ์
                       ข้าวฟ่างจากออสเตรเลียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ












                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


                                                          1650
   1712   1713   1714   1715   1716   1717   1718   1719   1720   1721   1722