Page 1868 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1868
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและเทคนิคการตรวจวิเคราะห์
ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และจุลินทรีย์ย่อยสลายทาง
การเกษตร
3. ชื่อการทดลอง การวิจัยและพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการ
จำแนกสกุลและชนิดปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์
Research and Development on Technical Efficiency Analysis
and Identification of PGPR Biofertilizer
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน อำนาจ เอี่ยมวิจารณ์ ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง 1/
กัลยกร โปร่งจันทึก 1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาวิธีการนับปริมาณและการจำแนกเชื้อในปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ที่ประกอบด้วยแบคทีเรีย
สกุล Azotobacter Beijerinckia Azospirillum Gluconacetobacter Burkholderia Herbaspirillum
และ Curtobacterium โดยแบ่งศึกษาเป็น 3 การทดลองย่อย คือ 1) การศึกษาชนิดสารละลายเจือจาง
ที่เหมาะสมในการเจือจางตัวอย่างปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ที่ประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรียทั้ง 7 สกุล โดยการศึกษา
เปรียบเทียบการใช้สารละลายเจือจาง 8 ชนิด 2) การศึกษาวิธีการนับเชื้อที่เหมาะสมในการนับเชื้อ
ในตัวอย่างปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ โดยศึกษาเปรียบเทียบวิธีการนับจำนวน 3 วิธี คือ plate count, drop
plate และ drop plate MPN และ 3) การศึกษาวิธีการจำแนกเชื้อที่เหมาะสมในตัวอย่างปุ๋ยชีวภาพ
พีจีพีอาร์ ดำเนินการศึกษาโดยใช้ลักษณะทางสรีระวิทยาและวิธีวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม
ด้วยการวิเคราะห์ phylogenetic ในตำแหน่งยีน 16S rRNA ผลการทดลองพบว่าสารละลายเจือจาง
แร่ธาตุอาหาร LG, Bei, LGI, SRSM-Mineral, 1% peptone และ JNFB-Mineral ทำให้ปริมาณเชื้อ
ทั้ง 7 ชนิดมีปริมาณเชื้อสูงกว่าน้ำกลั่น โดยวิธี drop plate มีปริมาณเชื้อสูงกว่า drop plate MPN และ
plate count และการจำแนกด้วยวิธี phylogenetic โดยใช้ตำแหน่งยีน 16S rRNA สามารถจำแนกเชื้อ
ในปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ทั้ง 7 สกุล ได้ถึงระดับชนิด
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
พัฒนาต่อ
___________________________________________
1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
1801