Page 1880 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1880
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและเทคนิคการตรวจวิเคราะห์
ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เคมีและจุลินทรีย์ย่อยสลายทาง
การเกษตร
3. ชื่อการทดลอง การศึกษาผลของแหล่งคาร์บอนชนิดต่างๆ ต่อโครงสร้างประชากร
จุลินทรีย์ดินบริเวณรากพืช
Effect of Carbon Sources on the Rhizospherically Microbial
Community Structure
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน สุปรานี มั่นหมาย ภาวนา ลิกขนานนท์ 1/
อธิปัตย์ คลังบุญครอง 1/
5. บทคัดย่อ
การทดลองการศึกษาผลของแหล่งคาร์บอนชนิดต่างๆ ต่อโครงสร้างประชากรจุลินทรีย์ดิน
บริเวณรากพืช โดยใช้แหล่งคาร์บอนเป็นน้ำตาลกลูโคส (Glucose) น้ำตาลไรโบส (Ribose) และน้ำตาล
แมนนิทอล (Mannital) พบว่าจุลินทรีย์ในดินรอบรากไม่ว่าจะใช้น้ำตาลชนิดใด ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ดิน
มีมากกว่าจุลินทรีย์บนผิวราก โดย จุลินทรีย์ในดินรอบรากพริก เป็นแบคทีเรียแกรมบวก มากกว่า
แบคทีเรียแกรมลบ ส่วนจำนวนไอโซเลทจุลินทรีย์ที่แยกได้จากรากแขนง และรากฝอย เป็นแบคทีเรีย
แกรมลบมากกว่าแบคทีเรียแกรมบวก ในดินรอบรากพริก ถึงแม้ว่าปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดในทุกกรรมวิธี
ไม่แตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มว่าการใส่น้ำตาลทุกชนิด ให้ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดมากกว่าการไม่ใส่น้ำตาล
ทั้งบริเวณผิวรากแขนงและรากฝอย การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตรได้แก่จุลินทรีย์
ละลายฟอสเฟตสายพันธุ์ RPS 0081B ทำให้พริกมีการเจริญเติบโตด้านความสูงและผลิตพริก มากกว่า
การไม่ใส่จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตและการใส่น้ำตาล
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
การทดลองนี้ได้ข้อมูลพื้นฐานของการปรับปรุงดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์หลายชนิด ให้มีปริมาณ
จุลินทรีย์เพิ่มขึ้น โดยใช้แหล่งคาร์บอนที่เหมาะสม จึงควรนำข้อมูลจากการทดลองนี้ไปใช้ในการจัดการดิน
ที่ขาดความอุดมสมบูรณ์แล้วปลูกพืชต่อไป เพื่อส่งเสริมให้พืชมีการเจริญเติบโตและผลผลิตเพิ่มขึ้น แล้วจึง
ถ่ายทอดหรือเผยแพร่ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
___________________________________________
1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
1813