Page 1896 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1896
กำหนดค่า National MRL, ASEAN MRL และ CODEX MRL ต่อไป นอกจากนี้ได้สุ่มเก็บถั่วฝักยาว
จากแหล่งจำหน่าย ระหว่าง พ.ศ. 2556 - 2558 จำนวน 114 ตัวอย่าง จากจังหวัดสมุทรสาคร
สมุทรสงคราม จันทบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี และนนทบุรี วิเคราะห์สารพิษ
ตกค้างกลุ่ม organophosphate 24 ชนิด กลุ่ม pyrethroid 7 ชนิด กลุ่ม endosulfan 3 isomer ได้แก่
a - endosulfan, b - endosulfan และ endosulfan - sulfate และ indoxacarb ด้วย GC - FPD,
GC - ECD และ LC - MS/MS มีเพียง 47 ตัวอย่าง ไม่พบสารพิษตกค้าง ที่เหลือ 67 ตัวอย่าง ตรวจพบ
สารพิษตกค้าง 12 ชนิด ปริมาณ 0.01 - 14.88 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ได้แก่ chlorpyrifos 17 ตัวอย่าง
(0.01 - 1.44 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) cypermethrin 34 ตัวอย่าง (0.01 - 14.88 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
endosulfan 11 ตัวอย่าง (0.01 - 2.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ethion 7 ตัวอย่าง (0.01 - 0.05 มิลลิกรัม
ต่อกิโลกรัม) omethoate 5 ตัวอย่าง (0.02 - 4.21 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) triazophos 3 ตัวอย่าง
(0.06 - 0.56 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) L - cyhalothrin 3 ตัวอย่าง (0.01 - 0.11 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
deltamethrin 2 ตัวอย่าง (0.03 - 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) profenofos 2 ตัวอย่าง (0.02 - 0.83
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) dimethoate 1 ตัวอย่าง (0.93 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) pirimiphos - methyl
1 ตัวอย่าง (0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) permethrin 1 ตัวอย่าง (0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ส่วน
indoxacarb ตรวจไม่พบในทุกตัวอย่าง นอกจากนี้ cypermethrin ที่พบปริมาณสูงสุดคือ 14.88
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นตัวอย่างที่เก็บจากจังหวัดนครปฐม อย่างไรก็ตามเมื่อนำปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด
ที่พบแต่ละชนิดมาประเมินความเสี่ยงที่จะได้รับต่อการบริโภคแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง พบว่า
เกือบทุกตัวอย่างของถั่วฝักยาวทั้งจากแปลงและจากแหล่งจำหน่าย ไม่เกิดอาการแบบเฉียบพลันหรือแบบ
เรื้อรังจากการบริโภค เมื่อเปรียบเทียบกับ acute reference dose (ARfD) และ acceptable dietary
intake (ADI) ของวัตถุมีพิษนั้นๆ
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. นำผลการทดลองทั้ง 6 ครั้ง เพื่อนำไปกำหนดค่า National MRL, ASEAN MRL และ CODEX
MRL
2. ผลการทดลองการสำรวจสารพิษตกค้างจากแหล่งจำหน่ายนำเสนอกรมวิชาการเกษตร นำข้อมูล
ร่วมพิจารณากำหนดแนวทางในการแนะนำ การใช้วัตถุมีพิษในถั่วฝักยาวให้แก่เกษตรกรต่อไป
3. นำข้อมูลชนิดของสารพิษตกค้างที่พบแต่ไม่มีกำหนดในฉลาก นำเสนอกรมวิชาการเกษตร
เพื่อแนะนำการเลือกใช้วัตถุอันตรายของเกษตรกร และหาเครือข่ายการให้คำแนะนำการใช้ฯ ที่ถูกต้อง
จากร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตร
4. นำเสนอกรมวิชาการเกษตรเพื่อกำหนดแนวทางและทิศทางการใช้วัตถุอันตรายในอนาคต
และกำหนดนโยบายด้านวัตถุอันตรายตั้งแต่การขึ้นทะเบียนถึงการใช้ของสารที่เป็นปัญหาต่างๆ
1829