Page 190 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 190
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาอ้อยสำหรับภาคกลาง เหนือ ตะวันออก และตะวันตก
3. ชื่อการทดลอง การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์อ้อยชุดปี 2553 เขตน้ำฝน : อ้อยปลูก
Sugarcane Standard Yield Trial in Rainted Area series : 2010
Plant Cane
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน อัจฉราภรณ์ วงศ์สุขศรี ปิยธิดา อินทร์สุข 1/
1/
อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข มานิตย์ สุขนิมิต 1/
เสมอนาถ บัวแจ่ม ศรัณย์รัตน์ สุวรรณพงษ์ 1/
1/
ณิชนันท์ พิเชียรสดใส 1/
5. บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์อ้อยชุดปี 2553 เขตน้ำฝน : อ้อยปลูก ดำเนินการที่ศูนย์วิจัย
และพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรีและศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท
โดยคัดเลือกอ้อยโคลนที่ได้จากแปลงเปรียบเทียบเบื้องต้นพันธุ์อ้อย จำนวน 7 โคลน ปลูกเปรียบเทียบกับ
พันธุ์ตรวจสอบ อู่ทอง 12 ขอนแก่น 3 และ LK92-11 ผลการทดลอง พบว่า ผลผลิตเฉลี่ยที่ศูนย์วิจัยและ
พัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 22.20
ตันต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมี
นัยสำคัญยิ่ง โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 16.37 ตันต่อไร่ และศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ผลผลิตเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน
ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 11.58 ตันต่อไร่ สำหรับค่าซีซีเอสและผลผลิตน้ำตาลของทั้ง
3 สถานที่ มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยค่าซีซีเอสที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร
สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี และศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท มีค่าเฉลี่ย 15.31 9.02
และ 13.50 ตามลำดับ และผลผลิตน้ำตาลมีค่าเฉลี่ย 3.39 1.49 และ 1.55 ตันซีซีเอสต่อไร่ ตามลำดับ
สำหรับผลผลิตเฉลี่ย ค่าซีซีเอสเฉลี่ย และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยรวมของทั้ง 3 สถานที่ คือ 18.00 ตันต่อไร่
13.42 และ 2.30 ตันซีซีเอสต่อไร่ ตามลำดับ
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
พัฒนาต่อ
__________________________________________
ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี
1/
123