Page 1963 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1963
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2. โครงการวิจัย การพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
3. ชื่อการทดลอง การสำรวจ วิเคราะห์ และศึกษาขนาดอนุภาคและความแข็งของเม็ดปุ๋ย
ของแม่ปุ๋ยนำเข้า และสารตัวเติมจากแหล่งต่างๆ ที่จะใช้ในการผลิต
ปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า
The Survey and Analysis of Particle Size and Hardness of
the Materials of Fertilizer Imports and Fillers from Different
Sources of Bulk Blending Fertilizers
4. คณะผู้ดำเนินงาน รัตนาภรณ์ คชวงศ์ วรรณรัตน์ ชุติบุตร 1/
1/
จริยา วงศ์ตรี ทองจันทร์ พิมพ์เพชร 1/
1/
สงกรานต์ มะลิสอน ศุภากร ดวนใหญ่ 1/
1/
5. บทคัดย่อ
ศึกษาลักษณะทางกายภาพของแม่ปุ๋ยที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ได้แก่ ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
(สูตร 21-0-0) ปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0) ปุ๋ยโพแทชเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต
(18-46-0) และสารตัวเติมที่ใช้ผลิตปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า โดยดำเนินการสำรวจและเก็บตัวอย่างจาก
ท้องตลาดของภาคต่างๆ ในประเทศไทยจำนวน 102 ตัวอย่าง ทำการศึกษาขนาดเม็ดปุ๋ย (SGN)
การกระจายของขนาดเม็ดปุ๋ย (UI) และความแข็งของเม็ดปุ๋ย (Hardness) เปรียบเทียบกับตัวอย่างแม่ปุ๋ย
นำเข้าและแม่ปุ๋ยในตัวอย่างปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้าที่ส่งมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยเกษตรเคมี
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบลักษณะ
ของแม่ปุ๋ยที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยที่มีผลต่อคุณภาพของปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า เพื่อใช้เป็นข้อมูล
ในการควบคุมวัตถุดิบและปรับปรุงกรรมวิธีผลิตสำหรับนักวิชาการและผู้ประกอบการ พบว่า ตัวอย่างแม่ปุ๋ย
ที่สุ่มเก็บจากท้องตลาดของภาคต่างๆ ในประเทศไทยบางส่วนมีลักษณะทางกายภาพไม่ผ่านตามเกณฑ์
การคัดเลือกวัตถุดิบสำหรับผลิตปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า โดยแม่ปุ๋ยทุกชนิดมีขนาดเม็ดปุ๋ยต่ำกว่าตัวอย่าง
แม่ปุ๋ยนำเข้าและแม่ปุ๋ยในตัวอย่างปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การกระจายของขนาด
เม็ดปุ๋ยของปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (สูตร 21-0-0) และปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0) มีค่าต่ำกว่าแม่ปุ๋ยนำเข้า
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความแข็งของเม็ดปุ๋ยยูเรียในตัวอย่างปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้ามีค่าความแข็ง
ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับแม่ปุ๋ยชนิดอื่น และมีค่าต่ำกว่าแม่ปุ๋ยที่ยังไม่ได้ผสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปุ๋ย
โพแทชเซียมคลอไรด์ (0-0-60) มีค่าความแข็งจากทุกแหล่งที่มาไม่แตกต่างกันทางสถิติ
___________________________________________
1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
1896