Page 1978 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1978

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
                       2. โครงการวิจัย             การศึกษาความรุนแรงของผลกระทบและการเฝ้าระวังสารเคมีป้องกัน

                                                   กำจัดศัตรูพืชที่มีพิษร้ายแรงหรือมีความคงทนในสภาพแวดล้อม

                       3. ชื่อการทดลอง             วิจัยชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในพืชผักผลไม้ในพื้นที่ สวพ. 4
                                                   หลังการรับรองระบบ GAP

                                                   Pesticide Residues in Vegetable and Fruit from GAP farm in

                                                   Northeast Lower of Thailand
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          นาตยา  จันทร์ส่อง            สุภาพร  บ้งพรม 1/
                                                                  1/
                                                   อิทธิพล  บ้งพรม 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              การผลิตพืชตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) เป็นระบบ

                       การจัดการกระบวนการผลิตทางการเกษตร เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยจากการตกค้างของสารเคมี
                       ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการผลิตพืช การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาชนิด

                       และปริมาณสารพิษตกค้างในผลผลิตพืชที่ได้จากระบบการผลิตพืช GAP แหล่งรวบรวมและแหล่ง
                       จำหน่ายผลผลิต เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการผลิตในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

                       ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ระหว่าง

                       ปี 2554 - 02558 โดยวิเคราะห์สารพิษตกค้างจำนวน 34 ชนิดสาร ด้วยเครื่อง Gas Chromatograph (GC)
                       จากการสุ่มเก็บตัวอย่างพืช 1,000 ตัวอย่าง มาตรวจสารพิษตกค้างในห้องปฏิบัติการ พบสารพิษตกค้าง

                       178 ตัวอย่าง จากพืช 30 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 17.8 ของตัวอย่างทั้งหมด ในจำนวนนี้ตรวจพบสารพิษ

                       ตกค้างเกินค่า MRL 5 ตัวอย่างในถั่วฝักยาวและคะน้า คิดเป็นร้อยละ 0.50 ของตัวอย่างทั้งหมด ตรวจพบ
                       สารพิษตกค้างจากตัวอย่างพืช 16 ชนิดสาร ได้แก่ chlorpyrifos, chlorpyrifos-methyl, profenofos,

                       malathion, dimethoate, EPN, diazinon, ethion, triazophos, pirimiphos-methyl, cyfluthrin,

                       carbosulfan, carbofuran, carbaryl, lamda-cyhalothrin และ cypermethrin ชนิดสารที่ตรวจพบ
                       มากที่สุด คือ chlorpyrifos ปริมาณ 0.01 - 3.13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมา คือ cypermethrin

                       ปริมาณ 0.01 - 17.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และตรวจพบวัตถุอันตรายทางการเกษตรชนิดที่ 4 คือ
                       chlorpyrifos-methyl ในกวางตุ้ง 1 ตัวอย่าง

                              ในภาพรวมแม้มีการตรวจพบสารพิษตกค้างจากพืชที่ได้จากระบบการผลิตพืช GAP ในพื้นที่

                       9 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แต่ปริมาณการตรวจพบส่วนมากยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัย
                       ต่อผู้บริโภค ข้อมูลนี้บ่งบอกถึงระบบการจัดการคุณภาพพืชในเขตพื้นที่ สวพ. 4 มีประสิทธิภาพ




                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4


                                                          1911
   1973   1974   1975   1976   1977   1978   1979   1980   1981   1982   1983