Page 1985 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1985

ปีงบประมาณ 2556 สุ่มเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 256 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งหมด

                       พบสารพิษตกค้าง 105 ตัวอย่าง (41.01%) ชนิดสารพิษตกค้างที่พบ คือ chlorpyrifos, ethion, diazinon,

                       pirimiphos-ethyl, phosphamidon และ cypermethrin จำแนกเป็นตัวอย่างจากแหล่งปลูก คือ ฝรั่ง
                       มะม่วง ส้มโอ เงาะ และทุเรียน จำนวน 195 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างในทุกชนิดพืชรวม 92 ตัวอย่าง

                       (47.17%) แหล่งรวบรวมผลผลิตทุเรียน จำนวน 61 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างในทุเรียน 13 ตัวอย่าง
                       (21.31%) ซึ่งปริมาณสารที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีเพียง 13 ตัวอย่าง (5.07%)

                       ที่เกินค่า MRL

                              ปีงบประมาณ 2557 สุ่มเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 226 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งหมด
                       พบสารพิษตกค้าง 53 ตัวอย่าง (23.45%) ชนิดสารพิษตกค้างที่พบ คือ chlorpyrifos และ cypermethrin

                       จำแนกเป็นตัวอย่างจากแหล่งปลูก คือ ฝรั่ง มะม่วง ส้มโอ เงาะ และทุเรียน จำนวน 161 ตัวอย่าง

                       พบสารพิษตกค้างในตัวอย่าง ส้มโอ ฝรั่ง เงาะ และทุเรียน รวม 31 ตัวอย่าง (19.25%) และแหล่งรวบรวม
                       ผลผลิตทุเรียน จำนวน 65 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง 22 ตัวอย่าง (33.84%) ซึ่งปริมาณที่สารที่พบ

                       ส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
                              ปีงบประมาณ 2558 สุ่มเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 276 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งหมด

                       พบสารพิษตกค้าง 55 ตัวอย่าง (19.92%) ชนิดสารพิษตกค้างที่พบ คือ chlorpyrifos, ethion, dimethoate,

                       profenofos และ cypermethrin จำแนกเป็นตัวอย่างจากแหล่งปลูก คือ ฝรั่ง มะม่วง ส้มโอ เงาะ และ
                       ทุเรียน จำนวน 216 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างในตัวอย่าง ส้มโอ ฝรั่ง เงาะ และทุเรียน รวม 50 ตัวอย่าง

                       (23.14%) และแหล่งรวบรวมผลผลิตทุเรียน จำนวน 60 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง 5 ตัวอย่าง (8.33%)
                       ซึ่งปริมาณที่สารที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีเพียง 4 ตัวอย่าง (1.44%) ที่เกินค่า MRL

                              จากการศึกษาทำให้ทราบสถานการณ์โดยรวมซึ่งจะเห็นได้ว่าผักผลไม้ที่สุ่มตรวจจากแหล่งผลิต

                       (แปลง GAP) มีการตรวจพบสารตกค้างมากที่สุดและปริมาณการตรวจพบก็เกินค่าความปลอดภัย (MRL)
                       แต่ผักผลไม้ที่สุ่มตรวจจากแหล่งรวบรวมและจุดจำหน่าย ตรวจพบสารพิษตกค้างน้อย และปริมาณที่ตรวจพบ

                       ก็อยู่ในค่าความปลอดภัย ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการแจ้งผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ส่วนถ่ายทอดเทคโนโลยี

                       สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 และสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืชเพื่อดำเนินการ
                       สำหรับพืชผักผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรพบสารพิษตกค้างไม่เกิน

                       ค่ามาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภคต่อไป

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              1. ได้ข้อมูลชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในพืชผัก ผลไม้ ในพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการ

                       เกษตรเขตที่ 7 จากแหล่งปลูกที่ได้รับการรับรอง GAP แหล่งรวบรวม และแหล่งจำหน่าย เพื่อใช้เป็น
                       แนวทางในการควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการเฝ้าระวังการใช้สารเคมี

                       กำจัดศัตรูพืชเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ระบบการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP มีคุณภาพ
                       ได้ผลผลิตที่ดีปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

                       นำไปสู่ความปลอดภัยทางอาหาร








                                                          1918
   1980   1981   1982   1983   1984   1985   1986   1987   1988   1989   1990