Page 2012 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2012

มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จำนวน 3 ชนิดสาร (malathion, triazophos, profenofos) ช่วงการทดสอบ

                       (Range) พบว่ามีค่า Range สองช่วง คือ 0.01 - 4.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 0.05 - 4.00 มิลลิกรัม

                                                                                              2
                       ต่อกิโลกรัม การตรวจสอบความเป็นเส้นตรง (Linearity) ให้ค่าความสัมพันธ์เชิงเส้น (R ) อยู่ในเกณฑ์การ
                                 2
                       ยอมรับ (R  ≥ 0.995) ค่าความถูกต้อง (Accuracy) และความเที่ยง (Precision) ของสารกลุ่ม
                       ออร์กาโนฟอสฟอรัส จำนวน 10 ชนิดสาร พบว่า ผลการทดสอบความถูกต้อง (Accuracy) ผ่านเกณฑ์

                       ตามหลักสถิติที่กำหนด สำหรับผลการทดสอบ ตัวตรวจวัด ECD ใช้ตรวจวัดสารกลุ่ม Pyrethroid ทำการ

                       ทดสอบในช่วง 0.005 - 4.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่า สารกลุ่ม Pyrethroid มีความเฉพาะเจาะจง
                       (Specificty/Selectivity) ไม่พบสัญญาณรบกวนจาก Matrix พบว่าค่า LOD = 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                       และค่า LOQ = 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีค่า Range อยู่ในช่วง 0.005 – 4.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                                                                                          2
                                                               2
                       ความเป็นเส้นตรง ให้ค่าความสัมพันธ์เชิงเส้น (R ) อยู่ในเกณฑ์การยอมรับ (ค่า R  ≥ 0.995) การพิสูจน์
                       ความถูกต้อง (Accuracy) และความเที่ยง (Precision) ของสารกลุ่ม Pyrethroid จำนวน 6 ชนิดสาร

                       พบว่าผลการทดสอบความถูกต้อง (Accuracy) ผ่านเกณฑ์ตามหลักสถิติที่กำหนด
                              ผลจากการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบดังกล่าวนี้ สามารถนำมาใช้เป็นวิธีมาตรฐานในการ

                       วิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่ม Organophosphorus และกลุ่ม Pyrethroid ในตัวอย่างแตงโม สำหรับการ
                       ปฏิบัติงานทดสอบแบบ Routine เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และสามารถนำไปขอ

                       ขยายขอบข่ายการรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบสารพิษตกค้าง สำนักวิจัยและพัฒนา
                       การเกษตรเขตที่ 4 ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2005 ต่อไป

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              1. นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้ที่จะทำการพัฒนาและปรับวิธีการตรวจวิเคราะห์เพื่อให้ได้
                       วิธีการที่ดีและเหมาะสมและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

                              2. สามารถนำวิธีวิเคราะห์ที่ผ่านการทดสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ไปขยายขอบข่ายวิธีการ

                       ตรวจวิเคราะห์และขอการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025
                              3. นำไปถ่ายทอดให้แก่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง เพื่อเป็นการพัฒนาและเพิ่ม

                       ศักยภาพของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ของกรมวิชาการเกษตร

                              4. นำวิธีการไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างที่ทำเป็นงานประจำและต้องการผลการ
                       วิเคราะห์ที่รวดเร็ว

                              5. จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่เพื่อให้ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างทั้งในภาครัฐและ
                       เอกชนนำไปทดสอบและใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้




















                                                          1945
   2007   2008   2009   2010   2011   2012   2013   2014   2015   2016   2017