Page 2038 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2038
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
2. โครงการวิจัย การพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบพืช GMOs เพื่อรับรองสินค้าเกษตร
3. ชื่อการทดลอง การผลิตชุดตรวจสอบแบบรวดเร็วสำหรับโปรตีน Cry9C (เป็นกรณีศึกษา
การใช้กับ) ข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม
Development of CRY9C Protein Rapid Detection via GICA
for StarLink BT Corn
4. คณะผู้ดำเนินงาน พงศกร สรรค์วิทยากุล ขนิษฐา วงศ์วัฒนารัตน์ 1/
1/
ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ ศรีเมฆ ชาวโพงพาง 2/
1/
ประเสริฐ วงศ์วัฒนารัตน์ 3/
5. บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดตรวจสอบโปรตีน CRY9C แบบ Strip โดยเหนี่ยวนำการสังเคราะห์โปรตีน CRY9C
จากยีน cry9c ผู้วิจัยสกัดโปรตีนรีคอมบิแนนท์จากแบคทีเรีย Escherichia coli เพื่อใช้เป็นแอนติเจน
ผลิตแอนติซีรั่ม นำแอนติซีรั่มมาสกัดแอนติบอดี้ชนิดอิมมูโนโกลบูลิน (IgG) แล้วเชื่อมกับอนุภาคทองคำ
ขนาด 40 นาโนเมตร โดยใช้แผ่นไนโตรเซลลูโลส เป็นวัสดุนำผ่านเปรียบเทียบการเชื่อมต่อ electrostatic
force และ nearly covalent พบว่าการเชื่อม IgG กับอนุภาคทองคำแบบ nearly covalent ทำให้
พันธะของอนุภาคทองคำและ IgG มีความเสถียรกว่าการเชื่อมแบบ electrostatic force เมื่อนำไปผลิต
เป็นชุดตรวจสอบโปรตีน พบว่า การพ่นอนุภาคทองคำ -IgG ที่อัตรา 15 ไมโครลิตรต่อเซนติเมตร ให้ผลดีที่สุด
โดยใช้ Goatanti - rabitIgG ความเข้มข้น 330 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ขีดเป็นเส้น control line และใช้
Anti - CRY9C IgG ความเข้มข้น 2.3 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ขีดเป็นเส้น Test line ให้ผลการตรวจสอบ
โปรตีนชัดเจนที่สุด ทั้งนี้จากการทดสอบปริมาณความเข้มข้นต่ำสุดที่ชุดตรวจสอบสามารถตรวจพบโปรตีน
CRY9C ได้คือ 10 นาโนกรัมต่อไมโครลิตร เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาจนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ประมาณ 20 นาที โดยสามารถเก็บชุดตรวจสอบได้เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
2/ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3/ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1971