Page 2051 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2051

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          การศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
                       2. โครงการวิจัย             การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อปรับปรุงพันธุ์

                                                   และขยายพันธุ์

                       3. ชื่อการทดลอง             การพัฒนาการขยายพันธุ์ยางโดยวิธี micro - cutting ในสภาพปลอดเชื้อ
                                                   Micro - Cutting Technique Development for Hevea Tissue

                                                   in vitro Culture

                                                               1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          วิทยา พรหมมี                 สมปอง เตชะโต 2/
                       5. บทคัดย่อ

                              การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนพืชโดยวิธี micro - cutting จากต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงต้นอ่อน

                       จากเมล็ด (zygotic embryo) ในหลอดทดลอง อาหารที่เหมาะสมต่อการเพาะเมล็ดในหลอดทดลอง คือ
                       อาหารสูตร MS1BA สามารถเพาะเมล็ดได้ดีมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง ต้นกล้าที่ได้มีลักษณะข้อปล้องสั้น

                       และอวบอ้วน เหมาะสำหรับนำข้อ และยอด ไปเพาะเลี้ยงยอดรวม ส่วนขนาดของต้นอ่อนที่เหมาะสม
                       ต่อการนำมาเพาะในหลอดทดลอง คือ ต้นอ่อนที่มีขนาดใหญ่สามารถรอดตายหลังจากเพาะและมีการ

                       เจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นอ่อนขนาดกลางและเล็ก การเพาะเลี้ยงยอดรวมจากข้อใบเลี้ยง โดยใช้อาหารสูตร
                       MH (PL)+1BA-0.5NAA หรือเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MH เติม BA ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร

                       หรือเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MH เติม Kinetin ความเข้มข้น 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถเพาะเลี้ยง

                       ให้มีจำนวนยอดที่งอกสูง ยอดมีความยาวยอดสูงและขนาดยอดใหญ่ การเพาะเลี้ยงยอด สามารถเพาะเลี้ยง
                       ให้มีความยาวยอด ขนาดของยอด และจำนวนยอดที่งอกสูงบนอาหารสูตร MH (PL) เติม GA ความเข้มข้น
                                                                                                 3
                       10 มิลลิกรัมต่อลิตร เติม BA ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA หรือ IBA ความเข้มข้น 0.25 ถึง

                       0.50 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับค่าความเป็นกรดด่างของอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนพืช คือ
                       5.8 ทำให้มีจำนวนการสร้างยอดเฉลี่ยสูงสุด การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนพืชโดยวิธี micro - cutting จากต้นกล้ายาง

                       พันธุ์ RRIM600 ที่พัฒนาจากการเพาะเลี้ยงต้นอ่อน (somatic embryo) เพื่อเพิ่มปริมาณยอด พบว่า

                       ข้อใบเลี้ยงสามารถเกิดการสร้างยอดรวมได้โดยใช้อาหารสูตร MH (PL)+1BA-0.5NAA แต่ยอดรวม
                       ยังสร้างในปริมาณที่น้อย












                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
                       2/ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                                                          1984
   2046   2047   2048   2049   2050   2051   2052   2053   2054   2055   2056