Page 2134 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2134
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย การลดการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลังเก็บเกี่ยว
2. โครงการวิจัย การจัดการโรคและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว
โดยไม่ใช้สารเคมี
3. ชื่อการทดลอง การใช้ความร้อนร่วมกับสารกลุ่มคาร์บอเนตควบคุมโรคแอนแทรคโนส
ของผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว
Using of Heat Treatment Combined with Carbonate
Compounds for Control of Anthracnose Disease after Harvest
4. คณะผู้ดำเนินงาน รัตตา สุทธยาคม บุญญวดี จิระวุฒิ 1/
1/
5. บทคัดย่อ
โรคแอนแทรคโนสเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อคุณภาพของผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว ทำให้อายุการเก็บ
รักษา การวางจำหน่ายสั้นลง เพื่อลดปัญหาการใช้สารเคมีในการควบคุมโรค จึงทำการศึกษาการใช้
ความร้อนร่วมกับสารกลุ่มคาร์บอเนตควบคุมโรคแอนแทรคโนส วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อการควบคุม
โรคแอนแทรคโนสหลังการเก็บเกี่ยวบนผลแก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย
และมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์สี่ โดยทดสอบวิธีการควบคุมโรค 3 วิธี คือ การใช้สารกลุ่มคาร์บอเนต
การใช้น้ำร้อน และการใช้น้ำร้อนร่วมกับสารกลุ่มคาร์บอเนต ดังนี้ การควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนผล
แก้วมังกรที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides พบว่า สารกลุ่มคาร์บอเนตมีประสิทธิภาพ
ในการยับยั้งความรุนแรงของโรคบนผล อยู่ในช่วง 5.85 - 38.55 เปอร์เซ็นต์ โดยที่แอมโมเนียมคาร์บอเนต 2%
สามารถยับยั้งความรุนแรงของโรคได้สูงสุด มีขนาดแผลเท่ากับ 1.60 เซนติเมตร และการจุ่มผลแก้วมังกร
ในน้ำร้อน 55 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที สามารถควบคุมโรคได้ดี มีขนาดแผลเท่ากับ 0.17 เซนติเมตร
สำหรับวิธีการใช้น้ำร้อนร่วมกับสารกลุ่มคาร์บอเนต พบว่า น้ำร้อนเป็นปัจจัยที่มีผลในการควบคุมโรค
แอนแทรคโนสบนผลแก้วมังกร
การควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนผลมะละกอที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides และ C. capsici
พบว่า สารกลุ่มคาร์บอเนตมีประสิทธิภาพต่ำในการยับยั้งความรุนแรงของโรคบนผลที่เกิดจากเชื้อรา
C. gloeosporioides อยู่ในช่วง 0.93 - 7.37 เปอร์เซ็นต์ และมีผลยับยั้งความรุนแรงของโรคที่เกิดจาก
เชื้อรา C. capsici อยู่ในช่วง 19.83 - 65.52 เปอร์เซ็นต์ และการใช้น้ำร้อนร่วมกับสารกลุ่มคาร์บอเนต
ควบคุมโรค พบว่า น้ำร้อนเป็นปัจจัยที่มีผลในการควบคุมโรค ดังนี้ การจุ่มผลมะละกอในน้ำร้อน
55 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที มีผลยับยั้งความรุนแรงของโรคที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides
และ C. capsici ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และ 80.01 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
_______________________________________________
1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
2067