Page 2187 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2187
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย วิจัยการศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืช
3. ชื่อการทดลอง การศึกษาวิธีการเก็บรักษาพันธุ์เท้ายายม่อม (Tacca leontopetaloides
Ktze.) เพื่อการอนุรักษ์
Study on Conservation of Tacca leontopetaloides Ktze.
Germplasm
4. คณะผู้ดำเนินงาน สุพินญา บุญมานพ ปาริฉัตร สังข์สะอาด 1/
1/
ภัทรียา สุทธิเชื้อนาค 1/
5. บทคัดย่อ
เท้ายายม่อมเป็นพืชล้มลุกฤดูเดียว การขยายพันธุ์ใช้ระยะเวลานาน อย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
จากเมล็ด และจากสาเหตุพื้นที่ตามธรรมชาติตามแถบชายฝั่งทะเล ลดจำนวนและเปลี่ยนสภาพเป็น
สิ่งก่อสร้างตามจุดประสงค์ของเจ้าของพื้นที่ ทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย จึงจำเป็น
อย่างมากสำหรับการศึกษาวิธีการเก็บรักษาเท้ายายม่อมในสภาพปลอดเชื้อเพื่อการอนุรักษ์ พบว่า
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเท้ายายม่อม สามารถทำได้โดยใช้ชิ้นส่วนของตำแหน่งบริเวณพื้นที่ใบที่ติดเส้นกลางใบ
จะเจริญเติบโตเป็นต้นและขยายได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้นได้ ในอาหารสังเคราะห์สูตร MS + BA 0.5
มิลลิกรัมต่อลิตร + 2,4-D 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร และการนำต้นเท้ายายม่อมที่เจริญเติบโตเต็มที่ใช้ระยะเวลา
8 เดือน พร้อมออกปลูกในโรงเรือนทดลองได้ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การรอด 60 เปอร์เซ็นต์ การเก็บรักษา
เท้ายายม่อมในสภาพปลอดเชื้อ (การชะลอการเจริญเติบโต) สามารถเก็บรักษาได้นานสูงสุด 7.4 เดือน
แม้ไม่มีการ subculture เมื่อเลี้ยงบนอาหารสูตรสังเคราะห์ ½ MS และเมื่อนำชิ้นส่วนสีเขียวกลับมา
ทดสอบอัตราการรอดชีวิตบนอาหารสูตรสังเคราะห์ MS + BA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร + 2,4-D 0.05
มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ หลังจากการฟื้นฟู 8 เดือน นำต้นเท้ายายม่อมออกปลูก
ในโรงเรือนได้
______________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
2120