Page 2199 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2199

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยการศึกษา สำรวจ และประเมินเชื้อพันธุกรรมพืช (พืชพื้นเมือง/

                                                   พืชท้องถิ่น) ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยการศึกษา สำรวจ และประเมินเชื้อพันธุกรรมพืช (พืชพื้นเมือง/

                                                   พืชท้องถิ่น) ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช
                       3. ชื่อการทดลอง             การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพืชพื้นเมือง/

                                                   พืชท้องถิ่นในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช

                                                   A Study of Morphology and Physiology of Indigenous Plants/
                                                   Domestic Plants in Gene Bank

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          รัชนก  ทองเวียง              อัญชลี  แก้วดวง 1/
                                                                 1/
                                                   สุกัลยา  ศิริฟองนุกูล        ศิริลักษณ์  อินทะวงศ์ 2/
                                                                    1/
                                                   วรกิจ  ห้องแซง 1/

                       5. บทคัดย่อ

                              การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพืชพื้นเมือง/
                       พืชท้องถิ่นที่เก็บรวบรวมไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช จำนวนรวม 50 หมายเลขพันธุ์ ได้แก่ วงศ์ Leguminosae

                       จำนวน 15 หมายเลขพันธุ์ วงศ์ Umbelliferae จำนวน 7 หมายเลขพันธุ์ วงศ์ Lamiaceae จำนวน
                       8 หมายเลขพันธุ์ และวงศ์ Solanaceae จำนวน 20 หมายเลขพันธุ์ ได้ทำการบันทึกภาพลักษณะต่างๆ

                       เช่น ลักษณะทรงพุ่ม/ทรงต้น ใบ ดอก/ช่อดอก ฝักและเมล็ด โดยผลการทดลอง การเจริญเติบโตของพืช

                       พื้นเมือง/พืชท้องถิ่น วงศ์ Leguminosae ดังนี้ จากลักษณะดอกของอัญชัน 2 หมายเลขพันธุ์ (R23 และ
                       R37) พบว่า ในหมายเลขพันธุ์ R37 ดอกมีลักษณะซ้อนกัน เนื่องจากกลีบดอก 5 กลีบมีกลีบใหญ่มากกว่า

                       1 กลีบ ทำให้ดูเหมือนมีกลีบดอกหลายชั้น ต่างจากดอกในหมายเลขพันธุ์ R23 ที่ดอกมีลักษณะชั้นเดียว
                       คือ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีกลีบใหญ่ที่สุด 1 กลีบ ซึ่งจะมีจุดแต้มสีเหลืองกลางกลีบ และใน

                       หมายเลขพันธุ์ R37 มีค่า SCMR สูงกว่าหมายเลขพันธุ์ R23 ในถั่วแปป 2 หมายเลขพันธุ์ มีสีของดอกและ

                       สีของเมล็ดแตกต่างกัน คือ ในหมายเลขพันธุ์ R874 มีดอกสีขาว เมล็ดสีน้ำตาล ส่วนในหมายเลขพันธุ์ R396
                       มีดอกสีม่วงแกมขาว เมล็ดสีดำ แต่ฝักมีลักษณะแบนและสีของฝักอ่อนมีสีเขียวอ่อนออกขาวเหมือนกัน

                       ในถั่วพุ่ม 3 หมายเลขพันธุ์ มีสีดอกคล้ายกัน แต่ในหมายเลขพันธุ์ R486 และ R1269 เมล็ดมีขนาดใหญ่กว่า

                       และสีของเมล็ดจะมีสีอ่อนกว่าหมายเลขพันธุ์ R476 ถั่วปีทั้ง 3 หมายเลขพันธุ์ มีลักษณะของดอก ฝัก
                       และเมล็ดแตกต่างกัน หมายเลขพันธุ์ R650 และ R651 สีของดอก มีสีเหลืองเหมือนกัน ลักษณะของฝัก

                       คล้ายฝักถั่วเขียวเหมือนกัน แต่สีของเมล็ดแตกต่างกัน โดยหมายเลขพันธุ์ R650 เมล็ดจะมีสีน้ำตาล

                       แกมเขียวลายสีน้ำตาลเข้ม ส่วนหมายเลขพันธุ์ R651 เมล็ดจะมีสีแดงออกแดงเลือดหมู ส่วนถั่วปีใน
                       หมายเลขพันธุ์ R940 เมื่อเปรียบเทียบลักษณะของดอก ค่า SCMR หรือสีใบค่อนข้างเข้ม ลักษณะฝัก

                       ______________________________________________
                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

                       2/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
                                                           2132
   2194   2195   2196   2197   2198   2199   2200   2201   2202   2203   2204