Page 244 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 244
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตอ้อย
2. โครงการวิจัย การบริหารจัดการศัตรูอ้อย
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในอ้อย
Study on Clamber Weed Management in Sugarcane.
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน สิริชัย สาธุวิจารณ์ อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข 2/
ทักษิณา ศันสยะวิชัย สุพัตรา ชาวกงจักร์ 4/
3/
1/
จรรยา มณีโชติ ตรียนัย ตุงคะเสน 5/
5. บทคัดย่อ
วัชพืชเป็นศัตรูพืชหลักของการผลิตอ้อยที่ลดปริมาณผลผลิต การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหา
วิธีการจัดการวัชพืชเถาเลื้อย สำหรับเป็นคำแนะนำในการผลิตอ้อย โดยการทดสอบประสิทธิภาพของสาร
กำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกเพื่อควบคุมวัชพืชเถาเลื้อยในแปลงปลูกอ้อย ดำเนินการทดลองระหว่างปี
2553 - 2558 ในพื้นที่ 5 จังหวัด วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ กรรมวิธีประกอบด้วยการ
พ่นสารกำจัดวัชพืชเดี่ยวและสารผสม ได้แก่ การพ่นสารกำจัดวัชพืช 2,4-D paraquat triclopyr
glyphosate fluroxypyr glyphosate+2,4-D และ glufosinate ammonium อัตรา 200 200, 150,
220 32, 220+240 และ 150 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามลำดับ กรรมวิธีกำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน และ
กรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ผลการทดลอง พบว่า วัชพืชเถาเลื้อยที่พบในแปลงปลูกอ้อยแต่ละพื้นที่จะมีชนิด
และจำนวนที่แตกต่างกัน โดยวัชพืชเถาเลื้อยที่พบ ได้แก่ สะอึก (Ipomoea gracilis R. Br.) กระทกรก
(Passiflora foetida L.) จิงจ้อดอกขาว (Operculina turpethum (L.) Sativa Manso.) ตดหมูตดหมา
(Paedaria foetida L.) และ ถั่วลาย (Centrosema pubescens Benth.) โดยที่ระยะ 30 วัน หลังพ่น
สารกำจัดวัชพืช การพ่นสารกำจัดวัชพืช 2,4-D paraquat triclopyr glyphosate glyphosate+2,4-D
glufosinate ammonium และ fluroxypyr สามารถควบคุมวัชพืชเถาเลื้อยได้ดี อย่างไรก็ตาม การใช้
สารกำจัดวัชพืชในช่วงที่วัชพืชประเภทเถาเลื้อยต้นเล็กและยังไม่เลื้อยพันต้นอ้อย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการควบคุมวัชพืชได้ดียิ่งขึ้น
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
จัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในแปลงปลูกอ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่ หรือจัดทำเป็นเอกสารคำแนะนำ
การจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในอ้อย
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี
3/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
4/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์
5/ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน 177