Page 766 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 766

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาถั่วลิสง
                       2. โครงการวิจัย             การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงเฉพาะพื้นที่

                       3. ชื่อการทดลอง             การทดสอบเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์

                                                   Technology Testing for Peanut Production in Surin Province
                                                                 1/
                       4.คณะผู้ดำเนินงาน           มัตติกา  ทองรส               สุชาติ  แก้วกมลจิต 2/
                                                   วีระเดช  เปียจำปา            มงคล  จำปาทอง 2/
                                                                   2/
                                                   บุญธรรม  ศรีหล้า             นวลจันทร์  ศรีสมบัติ 2/
                                                                  2/
                       5. บทคัดย่อ

                              การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงในจังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่ม

                       ผลผลิตต่อไร่ถั่วลิสงหลังนาให้กับเกษตรกร ดำเนินการทดสอบที่ อำเภอปราสาท อำเภอเมือง อำเภอศรีณรงค์
                       และอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในช่วงเดือนธันวาคม 2553 ถึงพฤษภาคม 2557 รวม 5 ปี

                       โดยปลูกถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 6 การปฏิบัติดูแลรักษาตามวิธีของเกษตรกร คือ การเตรียมแปลงปลูก
                       1 - 3 ครั้ง ตากดินไว้ 7 วัน ยกร่องปลูก ระยะปลูก 50 x 20 เซนติเมตร มี 2 กรรมวิธี คือ วิธีทดสอบ คือ

                       ปรับปรุงดินด้วยปูนโดโลไมท์อัตราตามค่าวิเคราะห์ก่อนปลูกคลุกเมล็ดด้วยปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม แล้วคลุก
                       เมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคคาร์เบนดาซิม 50% WP หรือ ไอโปรไดโอน 50% WP อัตรา 5 กรัมต่อ

                       เมล็ด 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกันโรคโคนเน่าขาด วิธีเกษตรกร คือ ปลูกถั่วลิสงโดยไม่คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย

                       ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมและสารเคมีป้องกันกำจัดโรคโคนเน่าขาดใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25
                       กิโลกรัมต่อไร่ รองพื้นพร้อมปลูก กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคน ผลการทดสอบ ปี 2554 ผลผลิตฝักสดและ

                       ฝักแห้ง พบว่า วิธีทดสอบมีน้ำหนักฝักสดเฉลี่ย 604 กิโลกรัมต่อไร่ และน้ำหนักฝักแห้งเฉลี่ย 260 กิโลกรัม

                       ต่อไร่ ในขณะที่วิธีเกษตรกรมีน้ำหนักฝักสดเฉลี่ย 507 กิโลกรัมต่อไร่ และน้ำหนักฝักแห้งเฉลี่ย 218
                       กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งวิธีทดสอบสามารถเพิ่มผลผลิตฝักแห้งมากกว่าวิธีเกษตรกรถึง 52 กิโลกรัมต่อไร่ มีอัตราส่วน

                       ของรายได้ต่อต้นทุน (BCR) วิธีทดสอบ เท่ากับ 2.48 และวิธีเกษตรกร เท่ากับ 2.42 ตามลำดับ ปี 2555

                       ผลผลิตฝักสดในวิธีทดสอบและวิธีเกษตรกร พบว่า ให้ผลผลิตเฉลี่ย 906 และ 639 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิต
                       ฝักแห้งเฉลี่ย 435 และ 320 กิโลกรัมต่อไร่ มีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 4.35 และ 3.00

                       ตามลำดับ ปี 2556 วิธีทดสอบและวิธีเกษตรกร พบว่า ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 336 และ 284 กิโลกรัมต่อไร่
                       ผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย 193 และ 163 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ มีอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน เท่ากับ 5

                       และ 4 ในวิธีทดสอบ และวิธีของเกษตรกร ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ากรรมวิธีทดสอบมีอัตราส่วนรายได้ต่อ

                       ต้นทุนมากกว่ากรรมวิธีของเกษตรกรทั้ง 3 ปี ดังนั้นวิธีทดสอบน่าจะเป็นวิธีการที่เหมาะสม สำหรับการ
                       ผลิตถั่วลิสงในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ปี 2559 - 2560 การผลิตถั่วลิงสงพันธุ์ขอนแก่น 6 โดยใช้เทคโนโลยี




                       ____________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์
                                                           699
   761   762   763   764   765   766   767   768   769   770   771