Page 819 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 819

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพืชเส้นใย
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายพร้อมเทคโนโลยีที่เหมาะสม

                       3. ชื่อการทดลอง             การเปรียบเทียบมาตรฐาน : พันธุ์ฝ้ายเส้นใยสี (ชุดที่ 2)

                                                   Standard Trail : Natural Color Fiber Cotton Variety (II)
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ปริญญา  สีบุญเรือง          เพ็ญรัตน์  เทียมเพ็ง 2/
                                                                   1/
                                                   สมใจ  โค้วสุรัตน์           พรพรรณ  สุทธิแย้ม 4/
                                                                 3/
                                                                 5/
                                                   ปรีชา  แสงโสดา              พิกุล  ซุนพุ่ม 6/
                                                   จุฑามาศ  ศรีสำราญ           นิมิตร  วงศ์สุวรรณ 8/
                                                                    7/
                       5. บทคัดย่อ

                               ทำการเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ฝ้ายเส้นใยยาวพิเศษร่วมกับพันธุ์ตรวจสอบ TF84-4 รวม 10 พันธุ์
                       ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ และอุบลราชธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย

                       กาฬสินธุ์ สกลนคร และมุกดาหาร ในปี 2557 เพื่อประเมินผลผลิตและคุณภาพเส้นใยของฝ้ายทั้ง 9 สายพันธุ์
                       โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ โดยใช้ระยะปลูก 1.50 x 0.50 เมตร แถวยาว 12 เมตร

                       ขนาดแปลงย่อย 7.50 x 12 เมตร ผลการทดลองจาก 5 สถานที่ (ยกเว้น ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี
                       ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ และสกลนคร) พบว่าลักษณะผลผลิตมีความแตกต่างทางพันธุกรรม

                       ในแต่ละสภาพแวดล้อม ระหว่างสภาพแวดล้อม ตลอดจนมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อม

                       โดยแปลงทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยของทุกพันธุ์สูงที่สุด 260 กิโลกรัมต่อไร่
                       รองลงมาคือ ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ (176 กิโลกรัมต่อไร่) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย

                       (172 กิโลกรัมต่อไร่) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร (119 กิโลกรัมต่อไร่) และศูนย์วิจัยพืชไร่

                       นครสวรรค์ (114 กิโลกรัมต่อไร่) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรปรวนอยู่ระหว่าง 12.58 - 22.93
                       เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาผลผลิตเฉลี่ยจากทั้ง 5 สถานที่ทดลอง พบว่าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ TF84-4

                       ซึ่งเป็นพันธุ์ตรวจสอบ โดยให้ผลผลิต 234 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนสายพันธุ์ 44/3C7-2B(W)3  44/3D1-3A(W)1

                       44/3D10-2H(W)1 และ 44/3E9-3D(W)6 ให้ผลผลิตรองลงมา คือ 196 193 190 และ 190 กิโลกรัมต่อไร่
                       ตามลำดับ สำหรับเปอร์เซ็นต์หีบและคุณภาพเส้นใย พบว่า เปอร์เซ็นต์หีบของทุกพันธุ์มีค่าระหว่าง




                       ____________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
                       2/ ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์
                       3/ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี

                       4/ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่
                       5/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย
                       6/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร
                       7/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร

                       8/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์
                                                           752
   814   815   816   817   818   819   820   821   822   823   824