Page 839 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 839

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพืชเส้นใย
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายพร้อมเทคโนโลยีที่เหมาะสม

                       3. ชื่อการทดลอง             การประเมินความเสียหายของผลผลิตฝ้ายเนื่องจากการเข้าทำลายของ

                                                   แมลงศัตรูที่สำคัญ
                                                   The Evaluation of Cotton Yield due to the Infestation of

                                                   Important Insects

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          อรทัย  วรสุทธิ์พิศาล        อนุวัฒน์  จันทรสุวรรณ 1/
                                                                    1/
                                                                 2/
                                                   นพพร  ศิริพานิช             เสาวลักษณ์  บันเทิงสุข 1/
                       5. บทคัดย่อ

                               ปี 2556 การใช้สาร imidacloprid 60% FS มีผลทำให้เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยจักจั่นลดลงต่ำกว่า
                       ระดับเศรษฐกิจ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่ใช้สารคลุกเมล็ด ที่ระยะเวลา

                       35 วัน ความสูงเฉลี่ยของต้นฝ้าย จำนวนสมอต่อต้น และน้ำหนักสมอต่อไร่สูงกว่าชุดการทดลองที่ไม่ใช้
                       สารเคมี 3.32 เซนติเมตรต่อต้น 0.70 สมอต่อต้น และ 16.26 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

                       สารเคมีที่ใช้ในการคลุกเมล็ดมีผลต่อองค์ประกอบของผลผลิตฝ้าย การใช้สาร dinotefuran 10% WP
                       มีผลทำให้เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยจักจั่นลดลงต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งเมื่อเปรียบเทียบ

                       กับกรรมวิธีที่ไม่ใช้สารฆ่าแมลง ความสูงเฉลี่ยของต้นฝ้าย จำนวนสมอต่อต้น และน้ำหนักสมอต่อไร่สูงกว่า

                       ชุดการทดลองที่ไม่ใช้สารเคมี 14.00 เซนติเมตรต่อต้น 1.10 สมอต่อต้น และ 15.04 กิโลกรัมต่อไร่
                       ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สารเคมีที่ใช้พ่นการป้องกันการเข้าทำลายของแมลงปากดูดมีผลต่อองค์ประกอบ

                       ของผลผลิตฝ้าย และการใช้สาร gamma cyhalothrin 1.5% CS มีผลทำให้หนอนเจาะสมอฝ้ายลดลง

                       ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่ใช้สารฆ่าแมลง
                       ความสูงเฉลี่ยของต้นฝ้าย จำนวนสมอต่อต้น และน้ำหนักสมอต่อไร่สูงกว่าชุดการทดลองที่ไม่ใช้สารเคมี

                       4.53 เซนติเมตรต่อต้น 0.70 สมอต่อต้น และ 50.32 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารเคมี

                       ที่ใช้พ่นในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายมีผลต่อองค์ประกอบของผลผลิตฝ้าย
                               ปี 2557 การใช้สาร imidacloprid 60% FS มีผลทำให้เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยจักจั่นลดลงต่ำกว่า

                       ระดับเศรษฐกิจ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่ใช้สารคลุกเมล็ด ที่ระยะเวลา
                       49 วัน ความสูงเฉลี่ยของต้นฝ้าย จำนวนสมอต่อต้น และน้ำหนักสมอต่อไร่สูงกว่าชุดการทดลองที่ไม่ใช้

                       สารเคมี 13.10 เซนติเมตรต่อต้น 1.13 สมอต่อต้น และ 5.40 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

                       สารเคมีที่ใช้ในการคลุกเมล็ดมีผลต่อองค์ประกอบของผลผลิตฝ้าย การใช้สาร dinotefuran 10% WP
                       มีผลทำให้เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยจักจั่นลดลงต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งเมื่อ

                       เปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่ใช้สารฆ่าแมลง ความสูงเฉลี่ยของต้นฝ้าย จำนวนสมอต่อต้น และน้ำหนักสมอ
                       ต่อไร่สูงกว่าชุดการทดลองที่ไม่ใช้สารเคมี 13.90 เซนติเมตรต่อต้น 0.17 สมอต่อต้น และ 4.00 กิโลกรัมต่อไร่

                       ____________________________________________

                       1/ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี
                                                           772
   834   835   836   837   838   839   840   841   842   843   844