Page 851 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 851
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาสับปะรด
2. โครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์สับปะรด
3. ชื่อการทดลอง การเปรียบเทียบพันธุ์สับปะรดลูกผสมชั่วที่ 1 (F1 รุ่นที่ 2) ที่เหมาะสม
สำหรับการบริโภคผลสด
Regional Yield Trail of F1 Hybrids Pineapple for Fresh Fruit
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน มัลลิกา นวลแก้ว วลัยภรณ์ ชัยฤทธิไชย 1/
เสาวคนธ์ วิลเลี่ยมส์ 1/
5. บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบพันธุ์สับปะรดลูกผสมเพื่อให้ได้สับปะรดที่มีคุณลักษณะดีเหมาะสมสำหรับการ
บริโภคผลสด และมีศักยภาพเพื่อการส่งออก โดยการเปรียบเทียบสับปะรดลูกผสมจำนวน 23 สายพันธุ์
และพันธุ์การค้า 4 พันธุ์ ดำเนินงานที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2554
ถึงกันยายน 2558 การเปรียบเทียบพันธุ์แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การเพิ่มปริมาณด้วยการเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อเพื่อให้ได้ปริมาณต้นเพียงพอต่อการเปรียบเทียบพันธุ์ และการปลูกเปรียบเทียบพันธุ์กับพันธุ์การค้า
ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ RCB 27 กรรมวิธี 3 ซ้ำ ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่าการฟอกฆ่าเชื้อ
พบการปนเปื้อน 12.5 - 62.5 เปอร์เซ็นต์ การเพิ่มปริมาณยอดด้วยอาหารสูตร MS + BA 1 มิลลิกรัมต่อลิตร
ทุกสายพันธุ์มีการแตกยอดใหม่อยู่ในระดับดี - ดีมาก และไม่พบการกลายลักษณะในห้องปฏิบัติการ
ส่วนขั้นตอนการปลูกเปรียบเทียบพันธุ์กับพันธุ์การค้า พบว่า หลังปลูก 3 เดือน สับปะรดลูกผสมมีการ
เจริญเติบโตต่ำกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ PB49014-168, PB49014-299, PB49007-125,
PB49013-213 และ PB49014-120
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
พัฒนาต่อ
____________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี
784