Page 867 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 867

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาลำไย
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาค

                                                   ตะวันออก

                       3. ชื่อการทดลอง             ทดสอบผลการเตรียมต้นและการเร่งการสลายตัวของคลอเรตในดินต่อ
                                                   การชักนำการออกดอกนอกฤดูของเกษตรกรในพื้นที่

                                                   On Farm Trial on the Effect  of Postharvest  Practice  and

                                                   Chlorate Decomposition to Induced Off - Season Flowering
                                                   in Longan

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          อรุณี  วัฒนวรรณ             ชูชาติ  วัฒนวรรณ 1/
                                                                 1/
                                                   อรุณี  แท่งทอง              ชนะศักดิ์  จันปุ่ม 1/
                                                               1/
                                                   พีรพงษ์  เชาวนพงษ์ 2/

                       5. บทคัดย่อ
                               การทดสอบผลการเตรียมต้นและการเร่งการสลายตัวของคลอเรตในดินต่อการชักนำการออก

                       ดอกนอกฤดูของเกษตรกรในพื้นที่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของ
                       เกษตรกรในภาคตะวันออก ดำเนินในแปลงลำไยอายุ 10 - 12 ปี ของเกษตรกรในอำเภอโป่งน้ำร้อน

                       จังหวัดจันทบุรี จำนวน 13 ราย ทดสอบการเตรียมต้นโดยการตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว ให้ปุ๋ยอินทรีย์

                       ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีสัดส่วน N : P : K เท่ากับ 4 : 3 : 1 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น กำจัดศัตรูพืชที่หลงเหลือ
                       จากฤดูกาลก่อน และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการเร่งการสลายตัวของคลอเรต โดยใช้สารละลาย

                       กากน้ำตาล : น้ำ ในอัตรา 1 : 30 ราดลงดินรอบทรงพุ่มในปริมาณ 5 ลิตรต่อตารางเมตร หลังการราด

                       สารโพแทสเซียมคลอเรต 1 เดือน (กรรมวิธีแนะนำ) เปรียบเทียบกับกรรมวิธีเกษตรกรที่เตรียมต้นโดยการ
                       ตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอบำรุงต้น และให้น้ำเป็นครั้งคราวก่อนการชักนำการออกดอก 1 เดือน และ

                       ไม่มีการเร่งการสลายตัวของคลอเรต พบว่าการออกดอกของทั้งกรรมวิธีแนะนำ และกรรมวิธีเกษตรกรไม่

                       แตกต่างกัน โดยมีการออกดอกเฉลี่ยร้อยละ 88 และ 90 ตามลำดับ สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ปริมาณ
                       สารคลอเรตในดินของทั้งสองกรรมวิธี พบปริมาณสารคลอเรตตกค้างในดินในปริมาณที่ต่ำมาก (น้อยกว่า

                       5 ppm) อาจกล่าวได้ว่าการเร่งการสลายตัวของคลอเรตในดินไม่มีผลต่อการชักนำการออกดอกของลำไย
                       นอกฤดู แต่การเตรียมต้นตามกรรมวิธีแนะนำมีผลทำให้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร โดย

                       มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 1,970 และ 1,764 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 66,367 และ 57,158 บาทต่อไร่

                       ตามลำดับ และพบว่ากรรมวิธีแนะนำมีต้นทุนต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 1,551 บาทต่อไร่ และพบว่า
                       ทั้งสองกรรมวิธีมีค่า BCR > 1 แสดงถึงการลงทุนที่มีผลกำไร สามารถทำการผลิตได้ แต่กรรมวิธีแนะนำ

                       สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณผลผลิตและผลตอบแทนได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการเตรียมต้น
                       ตามกรรมวิธีแนะนำ ทำให้ต้นลำไยแข็งแรง สมบูรณ์กว่ากรรมวิธีเกษตรกร

                       ____________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
                       2/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
                                                           800
   862   863   864   865   866   867   868   869   870   871   872