Page 96 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 96

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          การปรับปรุงพันธุ์ยางเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

                       2. โครงการวิจัย             การวิจัยพันธุ์ยางให้เหมาะสมกับพื้นที่ชุ่มชื้น

                       3. ชื่อการทดลอง             การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย 300/1/2
                                                   Further Proof Clone Trial of Hevea Hybrid RRIT 300/1/2

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          กัลยา  นิราพาธพงศ์พร        กรรณิการ์  ธีระวัฒนสุข 1/
                                                                      1/
                                                   พินิจ  เขียวพุ่มพวง 2/
                       5. บทคัดย่อ

                               การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลายพันธุ์ยางลูกผสม RRIT ชุด 300 เป็นการนำพันธุ์ยางที่ผ่าน
                       การคัดเลือกจากการเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้น พันธุ์ยางเหล่านี้เป็นพันธุ์ที่มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง และมี

                       ลักษณะรองต่างๆ ที่ดี มาปลูกทดลองในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

                       คัดเลือกพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูง มีลักษณะรองที่ดีกว่าพันธุ์เปรียบเทียบแนะนำให้เกษตรกรนำไปปลูก วางแผน
                       การทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ ดำเนินการปลูกพันธุ์ยางในปี 2539 โดยมีพันธุ์ยางลูกผสมจำนวน 7

                       สายพันธุ์ และ PB 260 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานพบว่า วัดการเจริญเติบโตของต้นยาง
                       โดยทำการวัดขนาดเส้นรอบวงลำต้นของพันธุ์ยางทั้ง 8 สายพันธุ์ พบว่า เมื่อต้นยางอายุ 17 ปี มีพันธุ์ยาง

                       ทุกสายพันธุ์ มีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกับพันธุ์เปรียบเทียบ PB 260 สายพันธุ์ โดยมีขนาดเส้นรอบวง

                       ลำต้นเฉลี่ยระหว่าง 63.8 – 75.9 ซม. มีพันธุ์ยาง จำนวน 3 สายพันธุ์ที่มีขนาดเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ย
                       มากกว่าค่าเฉลี่ยของแปลง ได้แก่ RRIT 300 PB 260 และ RRIT 306 โดยมีขนาด 75.9 75.3 และ 71.6

                       เซนติเมตร ตามลำดับ สำหรับผลผลิตในปีกรีดที่ 9 พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูงสุด 3 สายพันธุ์ สูงกว่าพันธุ์

                       เปรียบเทียบร้อยละ 12.1 – 52 คือ RRIT 300 RRIT 304 และ RRIT 302 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 40.42
                       39.51 และ 31.80 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด ตามลำดับ

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                               เนื่องจากในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก โรคบางโรค มีการระบาดที่

                       รุนแรงมากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลลักษณะทางเกษตรของพันธุ์ยางเหล่านี้ครบถ้วน จึงมีความจำเป็นต้อง

                       ศึกษาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้เพิ่มเติม จำเป็นต้องดำเนินการทดลองต่อไปอย่างต่อเนื่องตามแผนการทดลอง
                       เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้คัดเลือกพันธุ์ได้











                       ___________________________________________
                       1/ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี
                                                           29
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101