Page 13 - คู่มือการฝึก
P. 13

10
เพื่อใช้ในการต่อสู้ทางอากาศ ซึ่งเค้าสามารถเอาชนะข้าศึกได้ใน 40 วินาทีเสมอ โดยแบบจําลองนี้ถูกคิดค้นเพื่อใช้ ในการตัดสินใจในเวลาที่มีน้อยโดยมีรูปแบบตามลําดับของ OODA ดังนี้
การสังเกต (Observe: O)
การสังเกต หรือการเก็บข้อมูล เป็นข้อมูลดิบที่มาจากผลการปฏิบัติในครั้งก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างระบบ ผลการปฏิบัติ สิ่งแวดล้อม ผลกระทบจากเหตุการณ์ต่าง ๆ และข้อมูลภายนอกอื่น ๆ
การตีความ (Orient: O)
ข้อมูลดิบที่ได้จากการสังเกตจะถูกกลั่นกรองต่อโดยใช้ปัจจัย ได้แก่ ความเชื่อ ประสบการณ์ ข้อมูล และ วิธีการในการวิเคราะห์ เป็นส่วนประกอบที่สําคัญที่สุด เพราะเป็นตัวกําหนดแนวทางให้มีความพร้อมในการตัดสินใจ ในขั้นต่อไป
การตัดสินใจ (Decide: D)
โดยใช้การตั้งสมมติฐานล่วงหน้า และคิดวิธีการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากนําไปใช้ ในองค์กรใหญ่ ต้องมีแนวคิด ความเชื่อ หลักนิยม (Doctrine) อันเดียวกัน เพื่อการตัดสินใจที่สอดคล้อง และรวดเร็ว ของส่วนรวม
การปฏิบัติ (Act: A)
เมื่อความคิดถูกส่งไปสู่การปฏิบัติ จะมีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ให้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ในขณะนั้น
วิธีการคิดของ OODA loop ยกตัวอย่างเช่น มีคนร้ายชกใส่หน้าคุณ ทันทีที่เห็น นั่นแปลว่าคุณต้องเริ่ม OODA loop แล้ว ข้อสังเกตก็คือถ้าคนร้ายลงมือ (Act) แต่คุณเพิ่งจะเห็น (Observe) นั่นแปลว่าคุณตามหลัง คนร้ายถึง 3 ขั้นตอน ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาไม่ทัน และเราอาจโดนชกได้ โดยทั่วไปแล้วจึงเป็นการยากมากที่จะตอบโต้ การลงมือของคนร้ายได้ทัน
ขั้นตอนที่ใช้เวลามากที่สุด คือขั้นตอนการตีความและขั้นตอนการตัดสินใจ ซึ่งความสามารถในการตีความ (Orient) นั้น มาจากการฝึกฝนและประสบการณ์ ยิ่งตีความบ่อยก็ยิ่งประมวลผลได้เร็ว เช่น นักมวยที่ฝึกมา จนช่ําชอง เห็นแค่การขยับไหล่ก็สามารถตีความได้ว่าอีกฝ่ายจะชกมาจากด้านไหน และเตรียมการป้องกัน ที่เหมาะสมได้รวดเร็วกว่าคนปกติ เป็นต้น ส่วนในขั้นตอนการตัดสินใจ (Decide) นั้นจะมีปัญหาอยู่ตรงที่ว่าถ้าคุณ เป็นนักศิลปะการต่อสู้ที่ฝึกมาอย่างช่ําชอง บางทีการที่คุณรู้เทคนิคเยอะ ๆ กลายเป็นการทําให้การตัดสินใจช้าลง เพราะมัวแต่เสียเวลาเลือกว่าจะใช้เทคนิคใดดี ทําให้ไม่ทันการและเสียเปรียบคนร้ายในการต่อสู้























































































   11   12   13   14   15