Page 14 - คู่มือการฝึก
P. 14

11
วิธีการทําให้ OODA loop สั้นลงและใช้เวลาน้อยลงก็คือ ตัดขั้นตีความ (Orient) กับขั้นตัดสินใจ (Decide) ออกไป ให้เหลือแค่ขั้นมองเห็น (Observe) กับขั้นลงมือ (Act) กล่าวคือพอเห็นก็สามารถลงมือตอบโต้ได้ทันที โดย สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเทคนิคการต่อสู้ที่สามารถใช้ป้องกันและตอบโต้ในยามคับขันได้ เริ่มจาก เลือกเทคนิคการต่อสู้ออกมาก่อนโดยมีเงื่อนไขว่าเทคนิคนั้นจะต้อง
2.1 เรียบง่ายไม่ซับซ้อน เพราะความซับซ้อนทําให้ใช้เวลามากและช้าเกินไปสําหรับสถานการณ์จริง
2.2 ต้องไม่ดัดแปลงมาก เพราะถ้าต้องมานั่งตัดสินใจว่าชกมาแบบนี้ต้องรับแบบไหน จะทําให้เสียเวลา ในการตีความ (Orient) และตัดสินใจ (Decide) ทําให้ช้าเกินไปในสถานการณ์จริง
2.3 สามารถโจมตีต่อเนื่องได้จากเทคนิคนั้น เพราะการลงมือที่รวดเร็วและต่อเนื่องจะทําให้อีกฝ่ายตกอยู่ ในขั้นตีความ (Orient) กับตัดสินใจ (Decide) ซ้ําไปซ้ํามา แต่ไม่ได้ลงมือ (Act) ทําให้เกิดอาการตัวแข็ง (Freeze) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนร้ายมืออาชีพส่วนมากทํากับเหยื่อ ในทางตรงข้ามเราจึงควรนําจุดนี้มาใช้ประโยชน์เช่นกัน
หลังจากเลือกมาได้แล้วก็นําเทคนิคนั้นมาฝึกซ้ํา ๆ แบบใช้พลังและความเร็วเต็มที่จนเป็นสัญชาตญาณ จะทําให้สามารถ “ลัดขั้นตอน” ของ OODA loop และสามารถตอบโต้กลับได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
3. target discrimination การแยกแยะบุคคลเป้าหมาย
3.1. ทั้งตัว เพื่อแยกแยะว่าเป็นใคร พรรคพวกหรือคนร้าย เขาสวมใส่เสื้อผ้าอะไร มีอะไรผิดปกติหรือไม่
เพื่อมองหาสิ่งบ่งชี้ของตํารวจ
3.2. มือทั้งสองข้าง ในมือถืออะไรอยู่ เป็นอาวุธหรือไม่ และจะเป็นอันตรายกับเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือไม่
3.3. รอบเอว หากไม่ถืออาวุธอยู่อย่างชัดเจน จุดอื่นที่ต้องมองหาอาวุธ คือ ที่รอบเอว (ด้านหน้า ด้านข้าง
และด้านหลัง) นอกจากนี้ยังเป็นจุดที่มองหาสิ่งบ่งชี้ที่เป็นไปได้ของตํารวจอีกด้วย
3.4. บริเวณรอบตัว คือ สิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวบุคคลที่รับรู้ได้ว่าเป็นอันตราย เช่น อาวุธที่ใกล้ ๆ บนที่นั่ง
บนพื้น บนโต๊ะ เป็นต้น
3.5. อากัปกิริยา มีการเคลื่อนไหวอย่างลับ ๆ ล่อ ๆ ไปที่อาวุธ หรืออะไรก็ตามที่สามารถใช้เป็นอาวุธได้
เพื่อทําร้ายเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือคนอื่นหรือไม่ ในมือบุคคลนั้นซุกซ่อนอะไรอยู่ในเสื้อผ้า ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้อง ตระหนักถึงพฤติกรรมอันหลากหลาย ที่แฝงไว้ด้วยความมุ่งร้าย และการรุกราน การแสดงสีหน้า การแสดงออกด้วย ท่าทาง น้ําเสียง การหายใจ
4. หลักการตัดสินใจใช้อาวุธ (immediate/impedance)
4.1 Immediate ต้องทํา ณ ขณะนั้น จําเป็นต้องทํา ไม่มีทางอื่นอีกแล้ว
4.2 Impedance ยังไม่จําเป็นต้องทํา ณ ขณะนั้น สามารถรอได้ยังมีทางเลือกอื่นให้เลือก
















































































   12   13   14   15   16