Page 23 - คู่มือการฝึก
P. 23
20
1.5. ท่ายืนมือระดับอก (FI Stance ) ( Empty hand low-ready )
2. การเผชิญหน้า-คุ้มกัน(CONTACT-COVER)หมายถึงหลักการทางยุทธวิธีตํารวจที่กําหนดบทบาท และหน้าที่ของตํารวจ 2 ฝ่าย หรือ 2 คน ที่เป็นคู่ตรวจ ในการเข้าเผชิญหน้ากับคนร้าย โดยแยกหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้
ก. ตํารวจผู้เผชิญหน้า(CONTACTOFFICER)คือตํารวจผู้ที่รับผิดชอบในการเข้าไปเผชิญหน้ากับคนร้าย เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ เช่น การสอบถาม การตรวจค้นจับกุม และเป็นผู้ออกคําสั่งบังคับหรือสั่งให้คนร้ายทําตาม
ข. ตํารวจผู้คุ้มกัน(COVEROFFICER)คือตํารวจผู้ซึ่งรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยให้แก่ตํารวจ ผู้เผชิญหน้า โดยจะคอยเฝ้าดูอาการกิริยาของคนร้ายหรือผู้ต้องสงสัยตลอดเวลา เฝ้าฟังวิทยุ การพูดวิทยุ เฝ้าดู เกี่ยวกับพยานวัตถุต่าง ๆ ในตัวผู้ต้องสงสัย และมีหน้าที่ในการป้องกันยับยั้งการหลบหนีหรือการโจมตีของคนร้าย และการสังเกตพื้นที่โดยรอบตนเองในระยะ 360 องศา
3. ความสําคัญ
เป็นหลักการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ในขณะเข้าเผชิญหน้ากับผู้ต้องสงสัยหรือคนร้าย ในรูปแบบต่าง ๆ โดยส่วนมากใช้กับตํารวจที่เป็นคู่ตรวจ จํานวน 2 คน
4. หลักการพื้นฐาน
4.1. เมื่อตํารวจจะเข้าเผชิญหน้ากับคนร้ายหรือผู้ต้องสงสัยให้ตํารวจเริ่มตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้เผชิญหน้า และใครจะเป็นผู้คุ้มกัน
4.2. ในการเข้าเผชิญหน้ากับผู้ต้องสงสัยให้ตํารวจผู้เผชิญหน้าเป็นผู้ออกคําสั่งให้ผู้ต้องสงสัยหยุดและ เริ่มปฏิบัติตามภารกิจ เช่น การสอบถาม โดยตํารวจผู้เผชิญเหตุต้องยืนอยู่ห่างจากผู้ต้องสงสัยประมาณ 2 ช่วงแขน โดยยืนเยื้องกับผู้ต้องสงสัยทางด้านซ้ายหรือด้านขวาเล็กน้อย (รูป 4.7)
4.3. ตํารวจผู้คุ้มกันต้องยืนระยะห่างเพียงพอที่ผู้ต้องสงสัยจะไม่สามารถเข้าแย่งปืนได้โดยระยะห่าง แบบหลักการระยะปลอดภัย และยืนทํามุมในลักษณะตัววี แต่ไม่เกินตัวแอล (ห้ามยืนในลักษณะตัวไอเด็ดขาด) กับตํารวจผู้เผชิญหน้า หากเป็นคนร้ายสําคัญตํารวจผู้คุ้มกันอาจต้องยกปืนขึ้นเล็งไปทางคนร้าย ส่วนตํารวจผู้เผชิญหน้า