Page 24 - คู่มือการฝึก
P. 24
21
ไม่ต้องชักอาวุธปืนออกจากซองแต่อย่างใด ส่วนการเข้าหาคนร้ายนั้นให้เดินเยื้องกับคนร้าย โดยอย่าหันด้านที่พก อาวุธปืนเข้าใกล้คนร้าย (รูป 4.8)
4.4 ในกรณีที่คนร้ายหรือผู้ต้องสงสัยขัดขืนต่อสู้ ตํารวจผู้เผชิญหน้าจะต้องถอยหลังหรือเคลื่อนที่ออก ให้ห่างจากตัวผู้ต้องสงสัยหรือคนร้ายทันที โดยถอยหลังมาตามทิศทางที่เข้าไปเพื่อจะได้ไม่ขวางแนววิถีกระสุน หรือ ขัดขวางการใช้อาวุธปืนของตํารวจผู้คุ้มกัน (รูป 4.9)
รูป 4.7 รูป 4.8 รูป 4.9
หมายเหตุ
- เมื่อตํารวจผู้เผชิญหน้าเข้าไปปฏิบัติหน้าที่และเปลี่ยนมุมไป เช่น เข้าค้นทางขวาแล้วเปลี่ยนมาค้น ทางซ้ายให้ผู้คุ้มกันยืนหาตําแหน่งใหม่ที่เหมาะสมตามหลักแนวการยิงเพื่อมิให้อยู่ในแนววิถีกระสุน
- สําหรับตําแหน่งตํารวจผู้เผชิญหน้า และผู้คุ้มกัน สามารถสับเปลี่ยนตําแหน่งระหว่างกันได้ตาม ความเหมาะสม เช่น ตํารวจผู้ทําหน้าที่ผู้เผชิญหน้ามาทําหน้าที่ผู้คุ้มกัน ส่วนตํารวจที่ทําหน้าที่ผู้คุ้มกันมาทําหน้าที่ ผู้เผชิญหน้าก็ได้ ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
5. องค์ประกอบวิธีการเข้าหาผู้ต้องสงสัย(เผชิญหน้า-คุ้มกัน)
•ตําแหน่งที่ได้เปรียบ (POA) •ตําแหน่งที่เสียเปรียบ (POD) •การสื่อสารระหว่าง เจ้าหน้าที่ - บุคคลที่เข้าหา •การดูตําแหน่ง พื้นที่ สถานที่ ที่กําบัง