Page 8 - Demo
P. 8
เนื้อหาของการฝึกอบรม/หลักสูตร จัดครอบคลุมในด้านต่างๆ ดังนี้ (อิงตามหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจํา บ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา ของราชวิทยาลัย จักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
๑) ความรู้พื้นฐานทางการแพทย์ในด้าน วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ วิทยาศาสตร์คลินิก วิทยาศาสตร์สังคมและพฤติกรรม เวชศาสตร์ป้องกันและการแพทย์ทางเลือก
๒) ความรู้เฉพาะด้านของจักษุวิทยา (ภาคผนวกที่ ๓ เนื้อหาสังเขปของการฝึกอบรม) และการ ตัดสินใจทางคลินิกที่เกี่ยวข้องทางจักษุวิทยา
๓) โรคหรือภาวะของผู้ป่วยทางจักษุ จัดเนื้อหาการฝึกอบรมให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ ในโรค หรือภาวะทางจักษุ ซึ่งแบ่งเป็น
ระดับที่ ๑ โรคหรือภาวะทางจักษุวิทยาที่พบบ่อยและมีความสําคัญซึ่งแพทย์ประจําบ้านต้อง รู้/ดูแลรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
ระดับที่ ๒ โรคหรือภาวะทางจักษุวิทยาที่พบน้อยกว่าระดับ ๑ และมีความสําคัญ ซึ่งแพทย์ ประจําบ้านควรรู้/ดูแลรักษาได้ภายใต้การแนะนําหรือควบคุมของอาจารย์
ระดับที่ ๓ โรคหรือภาวะทางจักษุวิทยาที่ซับซ้อนซึ่งแพทย์ประจําบ้านอาจดูแลรักษาได้
ตามที่กําหนดใน clinical skills ด้านต่างๆ ใน ภาคผนวกที่ ๔ ทักษะทางจักษุวิทยา
๔) หัตถการทางจักษุวิทยา จัดเนื้อหาการฝึกอบรมฯ ให้ครอบคลุมหัตถการแต่ละระดับ แบ่งเป็น
ระดับที่ ๑ หัตถการที่แพทย์ประจําบ้านต้องทําได้ ด้วยตนเอง
ระดับที่ ๒ หัตถการที่แพทย์ประจําบ้านควรทําได้ (ทําภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ) ระดับที่ ๓ หัตถการที่แพทย์ประจําบ้านอาจทําได้ (ช่วยทําหรือได้เห็น) ตามที่กําหนดใน procedural skills ด้านต่างๆ ใน ภาคผนวกที่ ๔
๕) การทําวิจัย
เนื่องจากความสามารถในการทําวิจัยด้วยตนเองเป็นสมรรถนะหนึ่งที่แพทย์ใช้ทุนและแพทย์ ประจําบ้านสาขาจักษุวิทยาต้องบรรลุตามหลักสูตรฯ ทําให้มีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและแสวงหาความรู้ใหม่ เพื่อนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแล รักษาผู้ป่วย โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มายืนยันความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ เกิด ประสบการณ์ในการทําวิจัย มีจริยธรรมในการวิจัย สามารถนําไปใช้ประโยชน์หลังจากจบการฝึก อบรมได้
โดยต้องทํางานวิจัยหรือ review อย่างน้อย ๑ เรื่อง ในระหว่างการปฏิบัติงาน ๓ ปี โดยอาจเป็น ผู้วิจัยหลัก/ร่วม โดยมีระบบส่งเสริมให้แพทย์ฝึกอบรมมีความรู้และความสามารถประยุกต์ความรู้ พื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีการบูรณาการระหว่างการฝึกอบรมกับการวิจัย อย่างเพียงพอและสมดุล
แพทย์ฝึกอบรมที่ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถ ขอรับรองวุฒิบัตรสาขาจักษุวิทยา ให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอกได้โดยถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ตามความสมัครใจ โดยจะต้องแจ้งให้ภาควิชาฯ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่เริ่มฝึกอบรม ว่า จะรับการฝึกอบรมซึ่งมีโอกาสได้รับทั้ง ว.ว.และการรับรองวุฒิฯ ซึ่งกรณีนี้ผู้เข้าอบรมจะต้องมีผล งานวิจัยโดยที่เป็นผู้วิจัยหลัก และผลงานนั้นต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่เป็นที่ยอมรับใน ระดับชาติหรือนานาชาติ รายละเอียดในภาคผนวกที่ ๕ (การทํางานวิจัยเพื่อวุฒิบัตรฯ และการ
หน้า๘% จาก%๑๕๓