Page 9 - Demo
P. 9
ขอรับรองวุฒิบัตรฯ ให้มีคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาเอก) และภาคผนวกที่ ๘ (คู่มืองานวิจัยสําหรับ แพทย์ใช้ทุน/แพทย์ประจําบ้าน ภาควิชาจักษุวิทยา)
๖) มีเนื้อหาการเรียนรู้ทางด้านบูรณาการด้านต่างๆ ดังนี้
ก. ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
- การสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ
- การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์ผู้ร่วมงานผู้ป่วยและญาติ - การบอกข่าวร้าย
- การตระหนักรู้พื้นฐานความเชื่อทางสุขภาพที่ต่างกัน
ข. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
- การบริบาลการรักษาโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
- การเคารพสิทธิผู้ป่วย -พฤตนิสิยัทดี่ีมคีวามรบัผดิชอบความตรงตอ่เวลา
- จรยิ รรมทางการแพทย์ กฎหมายทางการแพทย์และนิติเวชวิทยา - การมุ่งมั่นเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบทีมสหวิชาชีพ
ค. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)
- ระบบสาธารณสุข (public health) ของประเทศไทย
ง. การพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based learning)
- หลักการบริหารจัดการ(managerialdisciplines) - ความปลอดภัยของผู้ป่วย(patientsafety)
- การดูแลตนเองของแพทย์(doctors’self-care)
๖.๒ วิธีการให้การฝึกอบรม
ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้การอบรมแพทย์ฝึกอบรม
แผน ก (แพทย์ประจําบ้าน) แพทย์ฝึกอบรม แผน ข (แพทย์ใช้ทุน) ให้ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ ผลลัพธ์การฝึกอบรมที่พึงประสงค์ การอบรมมีการกํากับดูแลอย่างเป็นระบบ มีคณะกรรมการการศึกษาหลัง ปริญญาและคณะกรรมการหลักสูตรฯ และคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรฯ (ภาคผนวกที่ ๑ และ ๒) ที่มี คณาจารย์ที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาร่วมบริหารการฝึกอบรมให้เป็นไปตามพันธกิจ การอบรมในแผน ก จะใช้เวลาเรียนอย่างต่ํา ๓ ปี และการอบรมในแผน ข จะใช้เวลาเรียนอย่างต่ํา ๔ ปี (ไม่นับ เวลาเพิ่มพูนทักษะ ๑ ปี) จัดการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดย ใช้วิธีการปฏิบัติเป็นฐาน (practice-based training) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการบริบาล และรับผิดชอบผู้ป่วย มีการบูรณาการภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติ การ อบรมเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สะท้อนการเรียนรู้นั้นๆ (self-reflection) มีการกํากับดูแล (supervision) และการให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) อย่างเป็นระบบ ภาควิชาได้กําหนดเป้าประสงค์หลักของการอบรมใน แต่ละช่วงชั้นปีตาม milestone ของราชวิทยาลัยฯ ดังภาคผนวกที่ ๖ และมีการติดตามตรวจสอบกํากับดูแล (supervision) และให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) แก่แพทย์ประจําบ้าน ซึ่งใช้การประเมินการทําหัตถการ (direct observe procedural skills, DOPS) และการประเมินองค์รวม (entrustable professional activities, EPA) ดังภาคผนวกที่ ๔ เพื่อนํามาพัฒนาปรับปรุงอย่างสม่ําเสมอ โดยมีการให้การอบรมเน้นบูรณาการการเรียนรู้ ภาค ทฤษฎีกับภาคปฏิบัติและการส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง ภาควิชาฯ จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (รหัสหลักสูตร:
หน้า๙% จาก%๑๕๓