Page 44 - ประวัติศาสตร์ชาติไทย สมัยรัตนโกสินทร์
P. 44

2. เหตุกำรณ์ส ำคัญ


            2.1 กำรเลิกทำสและไพร่ในสยำมประเทศ


                   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ประมาณว่าไทยมีทาส

            เป็นจ านวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ เพราะเหตุว่าพ่อแม่เป็นทาส

            แล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป ทาสนั้นจะต้อง

            หาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะตามกฎหมาย

            ถือว่ายังมีค่าตัวอยู่


                   ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกาศ

            "พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย" เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417

            แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมด

            ค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ มีผลกับทาสที่เกิด

            ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมาและห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20

            ปีเป็นทาสอีก

                   เมื่อถึง พ.ศ. 2448 ก็ทรงออก "พระราชบัญญัติเลิกทาส ให้ลูกทาสทุกคนเป็น


            ไทเมื่อวันที่  1 เมษายน พ.ศ. 2448 ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย
            ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2448 เป็นต้นไป


            นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อ
            ทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว

























             39
                                   รูปภาพที่ 34 การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49