Page 22 - แผนปฏิบัติราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
P. 22

 ๒. บริิบทการเปลี่่ียนแปลงของไทยจากสถานการณ์์โควิิด-19
จากการวิเคราะห์ของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ภายหลัง จากประเทศไทยและทั่วโลกได้เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 จะนํามาสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิตของประชาชน และการปรับตัวของภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐ โดยมีบริบทการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ดังนี้
2.๑ สังคมเปลี่ยนเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ จากสถานการณ์โควิด-19 ทําให้คนในสังคมมีการ ปรับเปลี่ยนการดําเนินชีวิตในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อลดความเสี่ยง จากการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างกันในสังคม โดยการดําเนินความสัมพันธ์ของชีวิตวิถีใหม่ จะเชื่อมโยงระหว่างบุคคลด้วยรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ทั้งการใช้จ่ายของครัวเรือน การทํางานในลักษณะ Work from home การเข้าร่วมกิจกรรมผ่านระบบการร่วมงาน ในรูปแบบภาพเสมือน ซึ่งชีวิตวิถีใหม่ที่ดังกล่าวจะเป็นบรรทัดฐานการดําเนินชีวิตของ คนในยุคดิจิทัลต่อไป
2.2 สถานการณ์โควิดเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเศรษฐกิจและสังคม เข้าสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วประเทศไทยพยายามผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจและสังคมดจิทิัล โดยในภาคส่วนของราชการ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กําหนดให้ราชการปรับตัวเข้าสู่ราชการ ๔.๐ อาทิ การพัฒนารูปแบบการให้บริการ เป็นแบบดิจิทัลที่สอดรับกับความต้องการของผู้รับบริการและสามารถรับบริการได้ ในทุกสถานที่ ทุกเวลา ซึ่งสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้หน่วยงานราชการและ ประชาชนเกิดการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับสังคมวิถีใหม่ และเกิดการนําเทคโนโลยี มาใช้เพิ่มมากข้ึน
2.3 แรงงานนอกระบบ อาทิ ผู้ประกอบการอิสระ และแรงงานแพลตฟอร์ม ขาดหลักประกันทางสังคม จากงานวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการทํางานของแรงงาน แพลตฟอร์ม โดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สํารวจ กลุ่มแรงงานแพลตฟอร์ม ในกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล และต่างจังหวัด พบว่า ส่วน ใหญ่เป็นการจ้างงานใน ๓ กลุ่ม คือ (๑) กลุ่มขับขี่ยานพาหนะรับจ้าง (๒) กลุ่มบริการรับ- ส่งอาหาร (๓) กลุ่มรับจ้างทํางานบ้าน ซึ่งจากสถานการณ์โควิด-19 ทําให้แรงงานบาง อาชีพที่ขาดรายได้ จึงมีการผันตัวเป็นแรงงานแพลตฟอร์มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการจ้างงาน แพลตฟอร์มทเี่กิดขึ้น ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองชัดเจน
2.4 ภาวะการเรียนรู้ถดถอย จากข้อจํากัดของการเรียนออนไลน์และมีเด็กบางส่วน หลุดออกจากระบบการศึกษา เนื่องจากข้อจํากัดในการเข้าถึงระบบการศึกษา แบบออนไลน์ โดยนักเรียนหลายคนยังขาดแคลนอุปกรณ์ อินเทอร์เน็ต หรือ สภาพแวดล้อมในบ้านท่ีไม่เอื้อต่อการเรียน นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนแบบ ออนไลน์อาจไม่เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากบางทักษะมีความเฉพาะเจาะจง เช่น ทักษะฝีมือ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงปัจจัยด้านความพร้อมของโรงเรียน และครูท่ีมคีวามแตกต่างกันสูงจึงส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ของเด็กแตกต่างกันด้วย
        -๙-
 



























































































   20   21   22   23   24