Page 24 - แผนปฏิบัติราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
P. 24

 3.๑ ประเภทของผู้ตอบแบบสํารวจ
จากผลการสํารวจ ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ปิดรับข้อมูลการแสดง ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ของสํานักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีผู้ตอบแบบสํารวจเข้ามาท้ังสิ้น จํานวน ๔๘๔ ราย ซึ่งถือว่าเกินกว่าจํานวนเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๑๕๔ ราย หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๔๖.๖๗ โดยมี จํานวนสัดส่วนประเภทของผู้ตอบแบบสํารวจแสดงในภาพรวมตามลําดับ
๓.2 ภาพลักษณ์ของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน
จากผลการสํารวจพบว่า ผู้ตอบแบบสํารวจ จํานวน ๒๕๙ ราย เห็นว่ามีภาพลักษณ์ที่อยู่ในระดับดี ร้อยละ ๗๕.๖๘ มีภาพลักษณ์ที่ควรปรับปรุง ร้อยละ ๑๐.๔๒ มีภาพลักษณ์อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ ๗.๓๔ และไม่มีความเห็น ร้อยละ ๖.๕๖ ตามลําดับ
3.3 บทบาทและการดําเนินภารกิจของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีตรีในปัจจุบัน
จากผลการสํารวจพบว่า ผู้ตอบแบบสํารวจส่วนใหญ่เห็นว่าการดําเนินภารกิจบทบาทและการดําเนิน ภารกิจของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีในปัจจุบันมีความชัดเจนและประสิทธิภาพดี คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๖๖ โดยผู้ตอบแบบสํารวจเห็นว่า บทบาทในปัจจุบันมีความโดดเด่นในการบูรณาการการทํางานและความร่วมมือ คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๓๖ มีความชัดเจนและประสิทธิภาพปานกลาง คิดเป็นร้อยละ ๘.๘๘ และไม่มีความคิดเห็น คิดเป็น ร้อยละ ๘.๑๑ ตามลําดับ
3.4 ความคาดหวังต่อบทบาทหรือทิศทางการดําเนินภารกิจของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีในอนาคต
จากผลการสํารวจพบว่า ผู้ตอบแบบสํารวจมีความคาดหวังต่อบทบาทหรือทิศทางการดําเนินภารกิจของ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีในอนาคต ๕ อันดับแรกท่ีมีผู้แสดงความเห็นมากที่สุด ดังนี้
       ประเด็นความคาดหวัง
   ร้อยละ
       1. ควรเป็นต้นแบบในการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น และขับเคลื่อนงานตามนโยบาย ๒๕.๔๘ อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเครือข่ายการทํางานที่เข้มแข็ง และเป็นศูนย์กลางข้อมูลสําคัญของรัฐบาล ให้กับหน่วยงานอ่ืนได้
      2. มุ่งเน้นการทํางานเชิงรุก ทั้งการปฏิบัติงาน การเสนอนโยบายรัฐบาล การเสนอแนวทางการแก้ไข ๒๑.๖๒ ปัญหาเร่งด่วนของสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
      3. มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ตรงจุด เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น และ ๑๘.๑๕ เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานภาครัฐและเป็นที่พ่ึงของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเน่ือง
      4. เน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการ อาทิ การยกระดับบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ๑๓.๕๑ ฉับไว และเป็นหน่วยงานในการบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
      5. เพิ่มการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภารกิจของหน่วยงานให้มีความหลากหลาย เข้าถึงประชาชน ๗.๓๔ มุ่งสื่อสารโดยให้ข้อมูลที่เป็นจริงและครบถ้วน
       -๑๑-
 


















































































   22   23   24   25   26