Page 25 - แผนปฏิบัติราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
P. 25

 4. การวิเคราะห์ความเสี่ยงยุทธศาสตร์ (Strategic Risk Management)
เป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายหรือ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ได้กําหนดไว้ แบ่งได้ตามแหล่งกําเนิด (Source) ปัจจัยเสี่ยง และมุมมอง (Perception) ขององค์การ โดยแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ (๑) Strategic Internal Controllable Risk : SIC คือ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจาก ภายในองค์การและสามารถที่จะควบคุมความเสี่ยงได้ (๒) Strategic External Controllable Risk : SEC คือ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภายนอกองค์การและสามารถท่ี จะควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้(๓)StrategicInternalUncontrollableRisk: SIU คือ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากภายในองค์การแต่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้ (๔) Strategic External Uncontrollable Risk : SEU คือ ปัจจัยเส่ียงที่เกิดจากภายนอก องค์การแต่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้
4.1 การประเมินความเสี่ยงด้วย Risk Matrix
เป็นการประเมินระดับความรุนแรงของความเสี่ยงต่อเป้าหมายด้วยสองปัจจัย คือ การประเมินเพ่ือ วัดความเป็นไปได้ของโอกาสเกิด (Likelihood Score) และผลกระทบ/ความรุนแรง (Impact Score) ของปัจจัย เสี่ยง โดยนําความเสี่ยงที่ระบุไว้แล้วทั้งหมดมาพิจารณาเพื่อจัดลําดับความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยง มักจะทํา 2 มิติ คือ
1. โอกาส/ความถี่ที่จะเกิด (Probability) คือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ที่นํามาพิจารณา เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะมีการพิจารณาหาระดับของโอกาสท่ีจะเกิด ดังนี้
        ระดับ
    โอกาส
    รายละเอียด
     1
      น้อยมาก
     เกิดขึ้นยาก (ประมาณ 1 ครั้งในช่วง 1 ปี)
    2
 น้อย
 เกิดขึ้นน้อย (1 ครั้งในช่วง 9 เดือน)
     3
      ปานกลาง
     เกิดขึ้นบ้าง (1 ครั้งในช่วง 6 เดือน)
    4
 มาก
 เกิดขึ้นบ่อยครั้ง (1 ครั้งในช่วง 2 เดือน)
     5
    สูงมาก
    เกิดขึ้นเป็นประจํา (1 ครั้งในช่วง 1 เดือน)
 2. ระดับผลกระทบ/ความรุนแรง (Severity/Impact) ระดับความรุนแรงหรือผลกระทบที่เกิดจาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือคาดคะเนว่าจะเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ และเมื่อเกิดข้ึนแล้วจะเกิดความรุนแรงหรือผลกระทบ กับส่ิงต่าง ๆ และความเสียหายที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายและพันธกิจ ในภาพรวม โดยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นความเสี่ยงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ และเหตุการณ์ภายนอก ส่งผลต่อกลยุทธ์ที่กําหนดไว้ไม่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์/วิสัยทัศน์ หรือเกิดจากการกําหนดกลยุทธ์ที่ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนหรือการร่วมมือกับองค์กรอิสระ ทําให้โครงการขาดการยอมรับและโครงการไม่ได้นําไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือการตอบสนองต่อความต้องการของ ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง
-๑๒-
 








































































   23   24   25   26   27