Page 27 - แผนปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
P. 27
ของสหประชาชาติ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยมุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับ ประชาชนทุกกลุ่ม (๔) โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใน ๓ รูปแบบควบคู่กัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยหน่วยงานในสํานักนายกรัฐมนตรีมีภารกิจ ที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ ดังน้ี ๒.๒.๑ หมุดหมาย (หลัก) ๑๓ ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน ๒.๒.2 หมุดหมาย (รอง) ๙ ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทาง สังคม ท่ีเพียงพอ เหมาะสม ๒.๒.3 หมุดหมาย (รอง) ๑๒ ไทยมีกําลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การ พัฒนาแห่งอนาคต ๑) นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ▪ นโยบายที่ ๑ เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ▪ นโยบายท่ี ๑๒ เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ▪ นโยบายท่ี ๑๖ เสริมสร้างดุลยภาพในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวทางการ ขับเคล่ือนนโยบายสู่การปฏิบัติ ๒) แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ในประเด็นการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก ของชาติภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แผนเตรียมพร้อม แห่งชาติ และแผนบริหารวิกฤตการณ์ (พ.ศ. 2566 - 2570) ๓. ความสอดคล้องกับแผนระดับที่ ๓ - แผนปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ๔. ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ย่ังยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ เป้าหมายการพัฒนาท่ีย่ังยืน Sustainable Development Goals – SDGs (๑) เป้าหมายที่ (Goal) ๑๖ (สนับสนุน) ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ (๒) เป้าหมายย่อย (Target) 16.10 สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเขาถึงข้อมูลและมีการ ปกป้องเสรีภาพขั้นพ้ืนฐาน โดยเป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ ๒.๓ ความสอดคล้องกับแผนระดับที่ ๒ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ 28