Page 26 - แผนปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
P. 26
ผ่านโครงการประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับประเทศ และนโยบายรัฐบาล ที่ล้วนสอดรับกับการสร้างค่านิยมและปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีให้แก่คนในสังคม โดยเฉพาะเด็ก และเยาวชน รวมถึงโครงการด้านการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารในโลกยุคดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี เพ่ือสร้างภูมิรู้แห่งข้อเท็จจริงและสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านข่าวปลอม อันจะส่งผลให้สามารถสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ปลอดภัย อีกทั้งขับเคลื่อนโครงการด้านต่างประเทศส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ เพื่อปลูกจิตสํานึกความเป็นไทย และส่งต่อความภาคภูมิใจสู่สายตาชาวโลก นอกจากนี้ยังมีโครงการ พัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคม เพื่อวางรากฐานด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร รองรับความก้าวหน้า และข้อมูลข่าวสารในโลกใหม่ให้แข็งแรง อันหมายรวมถึงโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนทั้งในระดับหน่วยงานและระดับประเทศ ซึ่งถือเป็นรากฐานของการ สื่อสารท่ีดีอีกด้วย ๒.๑.๔ ประเด็นท่ี ๑๗ (รอง) ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม (๑) เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทฯ ▪ เป้าหมายที่ ๑ คนไทยทุกคนได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันทางสังคมเพ่ิมขึ้น ▪ การบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทฯ หน่วยงานในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีมุ่งพัฒนาระบบ กลไกการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับสินค้าและบริการที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เพื่อให้เกิดความเป็น ธรรมและลดความเสียเปรียบของผู้บริโภค สุขภาพ (๒) แผนย่อยการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและหลักประกันทางเศรษฐกิจ สังคม และ ▪ แนวทางการพัฒนา ปรับปรุงระบบและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค ▪ เป้าหมายของแผนย่อย: คนไทยทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบาง ได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันทางสังคมเพ่ิมข้ึน ▪ การบรรลุเป้าหมายตามแผนย่อยของแผนแม่บทฯ การปรับปรุงระบบและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค พัฒนาระบบและกลไกการ คุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพและสนับสนุนองค์กรของผู้บริโภคให้มีความเข้มแข็ง ป้องกันการละเมิด สิทธิผู้บริโภคและอํานวยความยุติธรรมแก่ผู้บริโภค สนับสนุนการบริโภคอย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนา ระบบรับรองคุณภาพขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภค เสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้บริโภคให้มีความตระหนัก ในสิทธิหน้าท่ีและมีภูมิคุ้มกันในการบริโภคและซ้ือสินค้า และส่งเสริมให้ภาคีการพัฒนาต่าง ๆ มีบทบาทใน การสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างเป็นรูปธรรม ๒.๒ ความสอดคล้องกับแผนระดับท่ี ๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ ฉบับที่ ๑๓ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา ประเทศให้สามารถบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ โดยมุ่งหวังให้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ทําหน้าที่เป็นกลไกในการชี้ประเด็นที่มีลําดับความสําคัญสูงต่อ การพัฒนาประเทศในระยะ ๕ ปี และเพื่อผลักดันให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนสู่ ความเจริญเติบโตที่ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้หลักการและแนวคิดที่สําคัญ ๔ ประการ ได้แก่ (๑) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (๒) แนวคิด Resilience ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการลดความ เปราะบางต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ประกอบด้วยการพัฒนาใน ๓ ระดับ คือ การพร้อมรับ (Cope) การปรับตัว (Adapt) และการเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform) (๓) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 27