Page 14 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 14
ิ
็
ั
์
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
ุ
คำอธิบายขั้นตอนการเข้าถึงสถานที่เกิดเหต (Approach of Scene) มีรายละเอียดดงนี้
การบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุ เมื่อชุดตรวจสถานที่เกิดเหตุไปถึงสถานที่
เกิดเหตุแล้ว หัวหน้าชุดตรวจสถานที่เกิดเหตุจะต้องพิจารณาสถานที่เกิดเหตุและประเมิน
สถานการณ์ ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร พร้อมมอบหมายให้เจ้าหน้าที่แต่ละนาย
ดำเนินการตามแผน โดยเมื่อเดินทางมาถึงสถานที่เกิดเหตุไม่ควรรีบเร่งในการเข้าไปภายใน
สถานที่เกิดเหตุในทันที ควรสอบถามรายละเอียดพฤติการณ์แห่งคดีจากพนักงานสอบสวน
เจ้าหน้าที่สายตรวจที่เดินทางมาถึงสถานที่เกิดเหตุเป็นคนแรก (First responding police
officer) ฝ่ายสืบสวน อาสาสมัคร ประชาชนทั่วไป หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้รายละเอียด
คร่าวๆ เกี่ยวกับคดี จากนั้นพิจารณาถึงความปลอดภัยในการเข้าตรวจ ความปลอดภัย
ของประชาชนในบริเวณสถานที่เกิดเหตุ และการป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุพยานเป็นสำคัญ
เมื่อพนักงานสอบสวนมาถึงสถานที่เกิดเหตุ ต้องมีการวางแผนจัดการและ
ประสานงานการทำงานในสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะจัดสรรทรัพยากรให้
เหมาะสมกับคดีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยปฏิบัติ ดังนี้
1) พิจารณาว่าคดีดังกล่าวนี้พนักงานสอบสวนสามารถเก็บพยานหลักฐาน
ได้เองหรือไม่ หากเกินความสามารถหรือเป็นคดีใหญ่ เช่น การฆาตกรรม หรือการลักทรัพย์
ที่พนักงานสอบสวนไม่สามารถเก็บพยานหลักฐานได้ จะต้องประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่
ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน เพื่อให้มาตรวจสถานที่เกิดเหตุ หรือในบางครั้งก็สามารถเรียก
กองพิสูจน์หลักฐานกลาง มายังสถานที่เกิดเหตุพร้อมกับพนักงานสอบสวนได้เลย
2) พิจารณาวางแผนการตั้งประเด็นคำถาม เช่น มีอะไรเกิดขึ้นในสถานที่
เกิดเหตุ ความรุนแรงของเหตุการณ์ในสถานที่เกิดเหตุมีมากน้อยเพียงใด
่
3) พิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือความชวยเหลือ
ทางการแพทย์เพิ่มเติม
ี่
4) พิจารณาว่ามีอันตรายแฝงในบริเวณสถานทเกิดเหตุหรือไม่ หากมีอันตราย
ให้พิจารณาหาวิธีป้องกันทั้งตัวเองและสมาชิกผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุ บางครั้งอาจต้อง
พิจารณาขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด ผู้ประกอบ
วิชาชีพ วิศวกรก่อสร้าง เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษ เป็นต้น
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 13