Page 78 - PDCAชีวะ
P. 78
รายงานการสืบเสาะความรู้ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช
ข้อมูลพรรณไม้ที่น่าสนใจ ชนิดที่ 26
ชื่อพื้นเมือง พลึงเล, ลิลัว, พลับพลึงตีนเป็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum asiaticum L.
ชื่อวงศ์ Amaryllidaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ลําต้น
ไม้หัวอยู่ใต้ดิน อยู่เดี่ยวหรือแตกเป็นกอ กาบใบห่อเป็นชั้น ๆ
2. ใบ
กาบใบห่อทับกันเป็นชั้นคล้ายลําต้น สีเขียว รูปแถบแคบ เรียวยาว ปลาย
แหลม ขอบเป็นคลื่น หนาอวบนํ้า
3. ดอก
ออกดอกเป็นช่อแบบช่อซี่รุ่ม ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว แต่ละช่อมี 4-8 ดอก
ก้านดอกชูยาว ขึ้นจากตรงกลางลําต้น กลีบเลี้ยงสีขาว 6 กลีบ รูปเรียวยาว
กลีบดอกเชื่อมติดกันตลอดทั้งกลีบ ดอกบานเต็มที่กลีบจะโค้งเข้าหาก้าน
ดอก เกสรเพศผู้ 6 เกสร ชูสูงขึ้นจากหลอดกลีบดอก ที่ปลายเกสรมีสีแดง
อับเรณูสีเหลืองเข้ม เกสรเพศเมียตั้งตรงอยู่กลางดอก
ประโยชน์
1. ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงามและมีกลิ่นหอม
2. กาบใบสีเขียวของพลับพลึงมีคุณสมบัติคล้ายใบตอง สามารถ
นํามาใช้ทําเป็นงานฝีมือหรืองานประดิษฐ์ดอกไม้ได้ เช่น การทํา
กระทง งานแกะสลัก เป็นต้น
3. ดอกพลับพลึงสามารถนําไปวัดหรือใช้บูชาพระได้ (ลั้วะ)
4. นํามาใช้จัดแจกัน ทํากระเช้าดอกไม้