Page 40 - PDCA
P. 40
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่อสามัญ กระทุ่มบก
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ตะกู (จันทบุรี, นครศรีธรรมราช, สุโขทัย), ตะโกใหญ่ (ตราด), ตุ้มพราย,
ทุ่มพราย (ขอนแก่น), ตะโกส้ม (ชัยภูมิ, ชลบุรี)
ถิ่นกําเนิด ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การกระจาย
ในประเทศไทย พบขึ้นทั่วไปในที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะในพื้นนาภาคกลางที่นํ้าท่วมถึง
ในประเทศอื่น ๆ พบขึ้นทั่วไปในที่ราบลุ่ม ใกล้แหล่งนํ้า
นิเวศวิทยา พบตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณชุ่มชื้นใกล้แหล่งนํ้า
เวลาออกดอก ดอกออกทั้งปี
เวลาติดผล ไม่พบข้อมูล
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ ใช้ทําฟืน และทําเยื่อกระดาษ ไม้บาง ทําเป็นไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด พาร์
ทิเคิลบอร์ด และใช้ในโรงงานทําไม้ขีดไฟ
ประวัติพันธุ์ไม้ (การนําเข้ามาปลูกในประเทศไทย)
สันนิษฐานว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นถิ่นกําเนิดของต้นกระทุ่ม นอกจากนี้ยังมี
บริเวณในเขตที่ลุ่มตอนใต้ของอินเดีย พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย
เอกสารอ้างอิง วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรม
พืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย