Page 3 - 11. รายงานกิจกรรม KM กลุ่ม AVM Chamber Flight_มี.ค.60_V3 (final)
P. 3

- ๒ -


                  ๑.๖  ห้องปรับบรรยากาศ       ชนิดความกดดันต่ า  (Hypobaric  Chamber) ที่ติดตั้งประจ าอยู่ที่แผนก

                 เวชศาสตร์การบิน รพ.จันทรุเบกษา พอ. เดิมใช้ในราชการอยู่ที่กองเวชศาสตร์การบิน พอ. สร้างเมื่อ ค.ศ.๑๙๔๒
                 (พ.ศ.๒๔๘๕) ได้รับจากประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.๒๔๙๙  เริ่มใช้งานครั้งแรกที่ พอ.  เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑

                 และเคลื่อนย้ายมาติดตั้งที่ รพ.จันทรุเบกษา พอ. เมื่อ ๑๘ ส.ค.๒๕๕๒ ท าการติดตั้งโดย จนท. จาก ชอ. ร่วมกับ
                 น.สรีรวิทยาการบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านห้องปรับบรรยากาศของ สวบ.พอ.ในขณะนั้น  ทดลองท าการบินครั้งแรก

                 เมื่อ ๒๑ ก.ค.๒๕๒๖ ระบบต่างๆ ของห้องปรับบรยากาศของ รพ.จันทรุเบกษา พอ. ประกอบด้วย ๖ ระบบงาน

                 คือ ระบบเครื่องยนต์สูบอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบออกซิเจน ระบบเสียความกดดันเร็ว และ
                 ระบบงานอุปกรณ์ประกอบการฝึกบิน ทุกระบบต้องปฏิบัติด้วยมือ ไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม และไม่มี

                 คู่มือการปฏิบัติงานให้สืบค้นได้ อีกทั้งเนื่องจากอุปกรณ์หลายอย่างที่ถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน ผู้ปฏิบัติงาน

                 ควรทราบหลักการท างานและวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ใช้อย่างดี เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่
                 อาจเกิดระหว่างปฏิบัติงานได้ รวมทั้งสามารถยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ที่จัดหาทดแทนได้ยาก เนื่องจากเป็น

                 อุปกรณ์รุ่นเก่า หาอะไหล่ยาก และมีราคาแพง

                        ๑.๗  การปฏิบัติงานในปัจจุบันเกิดจากบุคลากรของ รพ.จันทรุเบกษา พอ. ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร
                 สรีรวิทยาการบิน ฝึกการใช้ห้องปรับบรรยากาศชนิดความกดดันต่ า ที่ สวบ.ทอ.ที่มีขนาดใหญ่กว่าและใหม่กว่า

                 (แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกการใช้งาน ไปแล้ว) แต่มีลักษณะการท างานคล้ายกับห้องปรับบรรยากาศ ของ รพ.จันทรุ
                 เบกษา พอ. มาปฏิบัติงานกับห้องปรับบรรยากาศ ของ รพ.จันทรุเบกษา พอ. เป็นเครื่องที่เก่ากว่าแต่งยังคง

                 ใช้งานอยู่ถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสรีรวิทยาการบิน จาก สวบ.ทอ.ที่มีความรู้ความช านาญ

                 ปัจจุบัน และยังคงปฏิบัติงานอยู่เพียง ๓ คน เป็นผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสรีรวิทยาการบิน รุ่นที่ ๖ (พ.ศ.
                 ๒๕๒๖) จ านวน ๒ คน และผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสรีรวิทยาการบิน รุ่นที่ ๗ (พ.ศ.๒๕๓๔) จ านวน ๑ คน

                 ซึ่งจะเกษียณอายุราชการใน ต.ค.๖๐  ส่วนผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสรีรวิทยาการบินรุ่นต่อมา คือรุ่นที่ ๑๐
                 (พ.ศ.๒๕๕๐) จ านวน ๗ คน และรุ่นที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕) จ านวน ๔ คน ที่ สวบ.ทอ. และฝึกปฏิบัติงานห้อง

                 ปรับบรรยกาศที่เป็นแบบใหม่ มีระบบการท างานที่ทันสมัย ซึ่งแตกต่างจากห้องปรับบรรยากาศของ รพ.จันทรุ

                 เบกษา พอ.ในปัจจุบัน  ดังนั้น ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรสรีรวิทยาการบินที่ สวบ.ทอ.ระยะหลัง จึงไม่สามารถ
                 ใช้งานห้องปรับบรรยากาศของ รพ.จันทรุเบกษา พอ. ได้ทันที บุคลากรทั้ง ๒ กลุ่มมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน

                 ค่อนข้างมาก ต้องมีการฝึกอบรมภายในหน่วยโดยใช้วิธีการ “พี่สอนน้อง” และใช้คู่มือที่จัดท าขึ้นเองภายใต้

                 ค าแนะน าการใช้งานระบบต่างๆ จาก จนท. ของ ชอ. ที่ท าการติดตั้งห้องปรับบรรยากาศของ รพ.จันทรุเบกษา
                 พอ.ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ จนถึงปัจจุบัน   สิ่งส าคัญที่อาจเกิดขึ้นได้คือขณะท าการบิน ทางห้องปรับบรรยากาศ

                 อาจเกิดภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น ระบบออกซิเจนขัดข้อง ไฟฟ้าดับ ระบบสื่อสารขัดข้อง เครื่องยนต์ช ารุด

                 เป็นต้น ถ้าผู้ปฏิบัติงานทางห้องปรับบรรยากาศไม่มีประสบการณ์มาพอ อาจแก้ไขปัฐหาไม่ถูกต้องหรือไม่ทัน
                 ต่อเหตุการณ์ อาจท าให้เกิดอันตรายต่อผู้รับการฝึกในห้องปรับบรรยากาศตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อยถึงระดับที่

                 รุนแรงต่อชีวิตได้
   1   2   3   4   5   6   7   8