Page 10 - e-book Health Knowledge Articles
P. 10

วัคซีนไข้หวัดใหญ่...เรื่องที่ควรรู้

                      วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนผลิตจากเชื้อที่ตายแล้วโดยผ่านกระบวนการผลิตที่มีความ
               ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ผู้ที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้ว
               ยังอาจเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ แต่อาการจะน้อยลง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ได้ป้องกันไข้หวัดทั่วไปที่เกิด

               จากเชื้ออื่น ๆ วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะฉีดบริเวณต้นแขน เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่
               มากขึ้น โดยใช้เวลา 2 สัปดาห์ก่อนจะออกฤทธิ์ วัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ 3-
               4 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มจะแพร่ระบาดในช่วงนั้น ๆ ปกติแล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่
               นั้นควรฉีดตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ฤดูแพร่ระบาดของโรค ซึ่งในประเทศไทย  มักเป็นช่วงฤดูฝนและฤดู

               หนาว เพื่อให้วัคซีนทำงานได้เต็มประสิทธิภาพในช่วงที่มีการระบาด
                      การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรทำเป็นประจำทุกปี เพราะเมื่อฉีดวัคซีนไปสักระยะ
               ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อโรคจะค่อย ๆ ลดลง ในแต่ละปีสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่

               แพร่ระบาดอาจเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องฉีดวัคซีนทุกปีเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น และ
               ป้องกันได้ตรงกับ      สายพันธุ์ที่กำลังระบาด วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่คนทั่วไปฉีดได้ แต่
               ควรมีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป  และเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ที่รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นปี

               แรก ควรได้รับ 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 4 สัปดาห์ รวมทั้ง บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
               ควรได้รับวัคซีน    ปีละ 1 เข็มอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันความรุนแรงและการแพร่กระจาย
               ของโรคไข้หวัดใหญ่ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับการฉีดวัคซีน ได้แก่

                              1. บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
                              2. หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป

                              3. เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี

                              4. ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไต
               วาย มะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด เบาหวาน

                              5. บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
                              6. ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

                              7. โรคธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ

                              8. ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัมหรือ BMI ตั้งแต่ 35 kg/m 2



                                                                                             4
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15