Page 6 - วารสารดวงหทัย
P. 6

โลกในยุคศตวรรษที่ 21 ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่าง
                                                             รวดเร็วมาก ศัพท์ทางธุรกิจที่ถูกหยิบมาใช้ และพูดถึงกัน

                                                             บ่อยๆ คือ “Disruption” ซึ่งมีฟันเฟืองส�าคัญอย่าง “Digital
                                                             Technology” เป็นตัวเร่งในการปรับเปลี่ยนความต้องการ

                                                             และทักษะของมนุษย์ โรงเรียนจึงต้องให้ความส�าคัญใน
                                                             การจัดการศึกษาเพื่อมุ่งพัฒนา  สมรรถนะของผู้เรียน
          ตามแนวทางการจัดการศึกษาส�าหรับศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 ลักษณะ ได้แก่ การเรียนรู้เพื่อรู้

          ( Learning to know ) การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติ (Learning to do) การเรียนรู้เพื่อเพื่อด�าเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น ( Learning
          to live together) และการเรียนรู้เพื่อรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ (Learning to be) เรียนเพื่อ “อ่านออก เขียนได้

          คิดค�านวณเป็น” จึงไม่เพียงพอ ทางโรงเรียนได้ปรับหลักสูตรรวมทั้งวิธีการจัดการเรียนการสอน มีกระบวนการและ
          น�าเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้บุตรหลานของเราเป็นผู้รู้จักแสวงหาข้อมูลและสามารถต่อยอดความรู้สู่การน�าไปใช้ในการด�ารงชีวิต

          ประกอบอาชีพและครอบคลุมถึงสุขภาพกาย สุขภาพจิต ทักษะทางสังคมและอารมณ์ มีทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี
          ดิจิทัลให้เป็นเครื่องมือช่วยสร้างงาน และนวัตกรรมอย่างหลากหลาย



                  การจัดการศึกษา จึงต้องเป็นการท�างานร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง การอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีการที่

          ถูกต้อง ความรัก และความเอาใจใส่ส่งผลต่อการพัฒนาทุกด้านของบุตรหลานของเรา รวมถึงการเรียนรู้และพฤติกรรมการ
          แสดงออก คุณธรรมจริยธรรม ผู้ปกครองเป็น “หุ้นส่วน” ของโรงเรียนในการเสริมสร้างศักยภาพของบุตรหลานสู่คุณภาพ

          สูงสุด ปัญหาโรคซึมเศร้า ภาวะติดเกม ติดสมาร์ทโฟน มีเพิ่มขึ้นทุกวัน เป็นภัยเงียบที่แทรกซึมง่าย รวดเร็ว ถึงตัว อยู่ในมือ
          ถือตลอดเวลา ซึ่งน่ากลัวมาก เพราะผลของมันร้ายแรงหากผู้ปกครองและโรงเรียนมีสัมพันธภาพที่ดี ร่วมมือกัน ไว้วางใจกัน

          แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อบรมดูแลในทิศทางเดียวกัน เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน “เด็กน่ารัก” อย่างไรเมื่ออยู่ที่
          บ้าน “ลูกรัก” เป็นอย่างไรเมื่ออยู่ที่โรงเรียน ด้วยบรรยากาศของความร่วมมือกัน จึงส่งผลให้เด็กมีความสุข มีความมั่นคง

          ทางอารมณ์



                  ครอบครัว คือ รากฐานที่ส�าคัญที่สุดส�าหรับเด็ก เรามาช่วยเติมเต็มความรัก ความเข้าใจ เพื่อบุตรหลานของเรา
          จะได้มีความสุข ความก้าวหน้า สามารถเป็นผู้น�าที่ดี ประสบความส�าเร็จใน ยุคศตวรรษที่ 21 ต่อไปอย่างมีคุณภาพ










                                                                       ซิสเตอร์นิตยา โจสรรค์นุสนธิ์
                                                                      ผู้อ�านวยการโรงเรียนนารีวิทยา



           4 4
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11