Page 8 - ผลแลปตรวจurineและfeces
P. 8

4







                                                                      ั
                           ข้อบ่งช้ของการตรวจปสสาวะ
                                         ี















              การตรวจปัสสาวะนั้นไม่มีข้อห้ามและมีประโยชน์หลายอย่าง แพทย์จึงมักส่งตรวจปัสสาวะใน

         การตรวจสุขภาพประจ้าปี โดยข้อบ่งชี้ในการตรวจปัสสาวะนั้นมีดังนี้

         •    ใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจประเมินค่าสุขภาพโดยทั่วไปของเจ้าของปสสาวะ ตรวจสภาพของไต
                                                                             ั
              และท่อปัสสาวะจากไตลงมา
         •    ใช้คัดกรองโรคเรื้อรังทั่วไปที่พบบ่อยในเบื้องต้น เช่น โรคไต โรคตับ โรคเบาหวาน โรคความดัน

              โลหิตสูง

         •    ใช้วินิจฉัยโรคหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อ
              ปัสสาวะ) ในเบื้องต้น เช่น มีอาการปวดท้อง ปัสสาวะบ่อย อาการแสบขณะปัสสาวะ เพื่อหา

              สาเหตุความผิดปกติที่เกิดขึ้น

         •    ใช้วินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลให้มีความผิดปกติในน้้าปสสาวะจากการมีสารบางอย่างที่เกิดจาก
                                                                ั
              โรคนั้น ๆ ปนมาในปัสสาวะ เช่น โรคความผิดปกตทางฮอร์โมนต่าง ๆ โรคมะเร็งบางชนิด (เช่น
              มะเร็งชนิดนิวโนบลาสโตมาในเด็ก)

         •    ใช้วินิจฉัยความรุนแรงของโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการท้างานของไต เช่น โรคเบาหวาน

              โรคความดันโลหิตสูง
         •    ใช้ประเมินระบบการเผาผลาญสารอาหาร (เช่น กลูโคส) ซึ่งมีผลกระทบต่อการท้างานของไต

              เป็นต้น

         •    ใช้ประเมินพยาธิสภาพของบรรดาต่อมไร้ท่อ (Endocrine disorders)
         •    ใช้ติดตามผลการรักษาโรคและภาวะต่าง ๆ ว่าเป็นไปในทางที่ดีหรือแย่ลง เช่น โรคเบาหวาน

         •    ใช้ตรวจหาสารบางชนิด เช่น สารพิษจากโลหะหนัก (เช่น สารตะกั่ว หรือปรอท) สารเสพติดใน

              ร่างกาย (เพื่อตรวจสอบผู้ใช้หรือผู้ติดยาเสพติด)
         •    ใช้ตรวจการตั้งครรภ์ของสตรีจากฮอร์โมน Human chorionic gonadotropin (hCG)
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13