Page 16 - LeUby
P. 16
ค าถามถามบ่อย
มิจฉาชีพรู้เบอร์โทรศัพท์ของเราได้อย่างไร
มิจฉาชีพใช้หลากหลายวิธีในการหาข้อมูลของเหยื่อ แต่ส่วนมากมักเก็บข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ Social Media ต่าง
ๆ ที่เหยื่อโพสต์เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลอื่น ๆ ไว้ เช่น วันเดือนปีเกิด ที่อยู่
หากรู้หมายเลขบัญชีที่โอนเงินไป จะสามารถจับตัวมิจฉาชีพได้หรือไม่
มิจฉาชีพมักไม่ใช้บัญชีเงินฝากของตนเองในการรับเงินโอนจากเหยื่อ แต่จะใช้วิธีจ้างคนอื่นเปิดบัญชีให้ แล้วน าบัตร
เอทีเอ็มมากดเงินออกทันทีที่ได้รับเงินโอน หรืออาจใช้วิธีหลอกใช้บัญชีของเหยื่อรายอื่นเพื่อรับเงินโอน จึงท าให้การจับตัว
คนร้ายตัวจริงค่อนข้างล าบาก
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเจ้าหน้าที่ที่โทรศัพท์มา เป็นเจ้าหน้าที่จากสถาบันการเงินจริงหรือเป็นกลุ่มมิจฉาชีพ
มิจฉาชีพมักเลียนแบบวิธีการติดต่อของเจ้าหน้าที่ให้เหมือนจริงมากที่สุด ดังนั้น วิธีที่จะระวังและป้องกันตัวได้คือ ทบทวนสิ่ง
ที่ได้รับแจ้งและความน่าจะเป็น หลังจากนั้นให้วางสายแล้วติดต่อไปยังสถาบันการเงินที่ถูกอ้างถึงด้วยตนเอง สอบถาม
ข้อเท็จจริงของเรื่องที่ได้รับแจ้ง นอกจากนี้ สถาบันการเงินไม่มีนโยบายขอข้อมูลหรือแจ้งให้ลูกค้าท าธุรกรรมผ่านทาง
โทรศัพท์ หากมียอดค้างช าระจริง ลูกค้าสามารถช าระเองได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องท ารายการ
ผ่านตู้เอทีเอ็มตามค าบอกของเจ้าหน้าที่
การเงินนอกระบบ
การเงินนอกระบบไม่ได้หมายถึงหนี้นอกระบบเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงแชร์ลูกโซ่ การระดมทุน หรือการใช้เงินในการท าธุรกิจที่ไม่
อยู่ภายใต้ระบบการควบคุมก ากับดูแลของทางราชการ ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพมักจะแฝงตัวเข้าไปหลอกเงินจากเหยื่อ
ลักษณะกลโกงการเงินนอกระบบ
เงินกู ้นอกระบบ
เงินกู้โดยตรง
ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบ มักเป็นผู้ให้กู้ที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน ส่วนมากจะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าสถาบันการเงินก าหนด
โดยบอกตัวเลขดอกเบี้ยหรือเงินคืนน้อยๆเพื่อดึงดูดผู้กู้ ผู้ให้กู้บางรายยังบังคับให้ลูกหนี้เซ็นสัญญาเงินกู้ที่ไม่ได้กรอกข้อความ หรือระบุ
จ านวนเงินกู้เกินจริง เช่น กู้ 10,000 บาท แต่ให้กรอกตัวเลขสูงถึง 30,000 บาท แต่ที่น่ากลัวคือ การทวงหนี้ด้วยวิธีที่โหดร้าย หรือผิด
กฎหมาย เช่น ขู่กรรโชก ประจาน หรือท าร้ายร่างกาย