Page 13 - ÀÁ»Ò¡ÌÒä·Â_Neat...b.
P. 13
ศิลปะมวยไทย คือ ศิลปะการต่อสู้ที่ใช้หลักพื้นฐานและทักษะ การต่อสู้ใน
ระดับต่างๆ คือ ท่าร่าง เชิงมวย ไม้มวย และเพลงมวย อย่างผสมผสานกันจนมี
ประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการรุกและ การรับ ท่าร่าง คือการเคลื่อนตัวและการ
เคลื่อนที่ เชิงมวย คือ ท่าทางของการใช้นวอาวุธในการต่อสู้ แบ่งออกเป็น เชิงรุก
ได้แก่ เชิงหมัด เชิงเตะ เชิงถีบ เชิงเข่า เชิงศอก และเชิงหัว เชิงรับ ได้แก่ ป้อง ปัด
ปิด เปิด ประกบ จับ รั้ง เป็นต้น ซึ่งเชิงมวยนี้ถือว่าเป็น พื้นฐานส าคัญในศิลปะมวย
ไทย ไม้มวย หมายถึงการผสมผสาน การใช้หลักพื้นฐานของศิลปะการต่อสู้ เข้ากับ
ท่าร่างและเชิงมวย ถ้าใช้เพื่อการรับเรียกว่า “ไม้รับ” ถ้าใช้เพื่อการรุกเรียกว่า “ไม้
รุก” ไม้มวย ยังแบ่งออกเป็นแม่ไม้ ลูกไม้ และไม้เกร็ด แม่ไม้ คือ การปฏิบัติการหลัก
ที่เป็นแม่บทของการปฏิบัติการรุกและรับ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ ๓
ประการ คือ ก าลัง พื้นที่ ที่ใช้ก าลัง และจังหวะเวลาในการใช้ก าลัง ลูกไม้ คือ การ
ปฏิบัติ การรองที่แตกย่อยมาจากแม่ไม้ ซึ่งแปรผันแยกย่อยไปตามการ พลิกแพลง
ของท่าร่างและเชิงมวยที่น ามาประยุกต์ใช้ และไม้เกร็ด คือ เคล็ดลับต่างๆ ที่น ามา
ปรุงท าให้แม่ไม้และลูกไม้ที่ปฏิบัติมี ความพิสดารมากยิ่งขึ้น
ไม้มวยนั้น มีการตั้งชื่อไม้มวยต่างๆให้ไพเราะ เข้าใจและ จดจ าได้ง่ายโดย
เทียบเคียงลักษณะท่าทางของการต่อสู้กับชื่อ หรือลีลาของตัวละคร เหตุการณ์
หรือสัตว์ในวรรณคดี เช่น เอราวัณเสยงา หนุมานถวายแหวน มณโฑนั่งแท่น
อิเหนา แทงกฤช ไม้มวยบางไม้ เรียกชื่อตามสิ่งที่คุ้นเคยในวิถีชีวิตของคนไทย เช่น
เถรกวาดลาน คลื่นกระทบฝั่ง หนูไต่ราว มอญยันหลัก ญวนทอดแห เป็นต้น เพราะ
เมื่อเอ่ยชื่อ ท่ามวยแล้ว จะท าให้นึกถึงท่าทางของการต่อสู้ได้อย่างชัดเจน ส่วน
เพลงมวย หมายถึง การแปรเปลี่ยนพลิกแพลงไม้มวยต่างๆ ต่อเนื่องสลับกันไป
อย่างพิศดารและงดงามในระหว่างการต่อสู้